หมวดวิชาบังคับ | ||
สอสย 701
หลักการสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน 3 (2-2-5)
ความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพและความยั่งยืน แนวทางและหลักการความยั่งยืนที่มีประสิทธิภาพในบริบทของสุขภาพสาธารณะและสุขภาพกับการดูแลทางสังคม การสังเคราะห์สารสนเทศจากหลากหลายสาขาและการวิเคราะห์เชิงวิพากษ์จากหลายหลายมุมมองทางด้าน สิ่งแวดล้อม เศรษฐศาสตร์ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และ จริยธรรม การประเมินผลการดำเนินงานเชิงปฏิบัติ จากการศึกษาดูงานบูรณาการในการรับเอาแนวทางมาใช้เชิงบูรณาในระดับบุคคล องค์กร ระดับชาติและนานาชาติ |
||
สอสย 702
ระบบสุขภาพและนโยบายสาธารณะที่ยั่งยืน 2 (1-2-3)
สถานการณ์ระบบสุขภาพและนโยบายสุขภาพในระดับประเทศ ภูมิภาคและนานาชาติ การปฏิรูประบบจัดการสุขภาพระดับโลก การพัฒนาและการตัดสินใจนโยบายสาธารณะในระบบสุขภาพ การใช้นโยบายขับเคลื่อนในระบบสุขภาพ การบริหารนโยบายระบบสุขภาพเชิงกลยุทธ์ การจัดการกำลังคนและภาวะผู้นำ การจัดการระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ การจัดการระบบการเงินการคลังในระบบสุขภาพและการประกันสุขภาพถ้วนหน้า การจัดการความขัดแย้งและการเจรจาต่อรอง ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและการมีส่วนร่วมของประชาชน ประสบการณ์ภาคสนามและกรณีศึกษาประเด็นปัญหาและผลกระทบของนโยบายต่อระบบสุขภาพ |
||
สอสย 703
การฝึกปฏิบัติการวิจัยทางสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน 3(0-6-3)
การปฏิบัติวิจัยเป็นรายบุคคลในประเด็นร่วมสมัยเกี่ยวกับสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน การวิพากษ์และสังเคราะห์รูปแบบของการจัดการระบบสุขภาพ การพัฒนานโยบายสุขภาพและการปฏิบัติ การประเมินความยั่งยืน การระบุยุทธศาสตร์เพื่อการขยายผลและการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน การพัฒนาทักษะวิชาชีพ ภาวะผู้นำ การทำงานเป็นทีม ความรอบรู้ในสมรรถนะด้านสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน |
||
สอสย 704
สัมมนาดุษฎีบัณฑิตทางสุขภาพและความที่ยั่งยืน 1 (1-0-2)
ประเด็น แนวคิด ทฤษฎี การประเมินวิกฤตการณ์ทางสุขภาพและความยั่งยืน การวิพากษ์และสังเคราะห์สิ่งพิมพ์ในทางสุขภาพและการความยั่งยืนภายใต้จริยธรรมทางการวิจัยs |
หมวดวิชาเลือก | ||
สอสย 705
ระบาดวิทยาเพื่อการพัฒนาสุขภาวะที่ยั่งยืนขั้นสูง3 (2-2-5)
หลักการและวิธีการของระบาดวิทยา ลักษณะการเกิดและการกระจายของโรคและอุบัติภัย การวัดโรคทางการระบาด การคัดกรองและการสอบสวนโรค ระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ การวัดความถี่ของการเกิดโรค การวัดความสัมพันธ์ของปัจจัยกับผลที่เกิดขึ้น การประเมินปัจจัยเสี่ยง การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาการระบาดเพื่อการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อและไร้เชื้อ การนำข้อมูลทางวิทยาการระบาดมาใช้ในการพัฒนาที่ยั่งยืน |
||
สอสย 706
วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3 (2-2-5)
หลักการและความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการจัดการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ใช้อยู่ของโลกและของประเทศไทย องค์ประกอบของการพัฒนาที่ยั่งยืน ความสมดุลและความยืดหยุ่นทางระบบนิเวศมนุษย์ จุดวิกฤตและประสิทธิภาพเพื่อการจัดการสู่ความยั่งยืน การประเมินความยั่งยืน การประยุกต์แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน กรณีศึกษา คุณธรรมและจริยธรรมทางสุขภาพและการพัฒนาที่ยังยืน |
||
สอสย 707
การพัฒนาตัวชี้วัดทางสุขภาพและความยั่งยืน 3 (2-2-5)
คำอธิบายรายวิชา คุณลักษณะตัวชี้วัดความยั่งยืนเชิงคุณภาพและปริมาณ ตัวชี้วัดในระบบสุขภาพ การคัดเลือกตัวชี้วัดที่มีประสิทธิภาพ การตรวจติดตามตัวชี้วัด การบริหารจัดการตัวชี้วัด กรณีศึกษา |
||
สอสย 708
การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบสุขภาพเพื่อความยั่งยืน3 (2-2-5)
การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ การวิเคราะห์กระบวนการนโยบายเพื่อสุขภาพ ระบบการประเมินผลกระทบจากนโยบาย แผน โครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ รูปแบบการประเมินผลกระทบสุขภาพในเชิงคุณภาพและปริมาณ กรณีศึกษาในประเทศไทยและต่างประเทศ |
||
สอสย 709
วิทยาระเบียบวิธีวิจัยเพื่อสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนขั้นสูง 3 (2-2-5)
รากฐานทางปรัชญาและทฤษฎีทางสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน วรรณกรรมและการสังเคราะห์ข้อมูลการวิจัย การทบทวนอย่างเป็นระบบ การวิเคราะห์แบบอภิมาน การออกแบบการวิจัย การวิจัยแบบผสมผสาน เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง การประยุกต์ใช้สถิติในการวิจัยแบบสหสาขาวิชา |
||
สอสย 710
แนวคิดหลักการและการปฏิบัติด้านสุขภาพหนึ่งเดียว 3 (2-2-5)
ความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อม สัตว์ สุขภาพของมนุษย์ การบูรณาการของรากฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงของประชากรมนุษย์ สัตว์ สิ่งแวดล้อม ผลกระทบในการดำรงชีพของมนุษย์ การบูรณาการแนวทางสุขภาพหนึ่งเดียวในการแก้ไขปัญหาทางสุขภาพที่ซับซ้อน |
||
สอสย 711
ปัญหาพิเศษทางด้านสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน 3 (2-2-5)
การศึกษาค้นคว้าด้านการวิจัยสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน วิทยาการร่วมสมัยในการศึกษาเชิงลึกด้านสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน ผลการศึกษาในเวทีสาธารณะ |
||
สศสย 712 เศรษฐศาสตร์สุขภาพประยุกต์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3 (3-0-6)
การกำหนดนโยบาย วางแผน ประมาณการความต้องการทรัพยากร จัดบริการและประเมินผลบริการสาธารณสุขโดยเน้นการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และการลดต้นทุนเพื่อความยั่งยืน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลทางเศรษฐศาสตร์ การพิจารณาทางเลือกจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ความเป็นธรรมในการกระจายทรัพยากรและบริการสุขภาพ |
||
สศสย 713 การประเมินผลทางเศรษฐศาสตร์และการประเมินเทคโนโลยีสุขภาพเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3 (3-0-6)
ทฤษฎี และแนวคิดเกี่ยวกับการประเมินผลทางเศรษฐศาสตร์ รูปแบบการประเมิน ขั้นตอน และเทคนิคการประเมิน แนวคิดและวัตถุประสงค์ของการประเมินเทคโนโลยีทางสุขภาพ การประยุกต์เครื่องมือการวิเคราะห์และประเมินผลทางเศรษฐศาสตร์สำหรับการประเมินเทคโนโลยีทางสุขภาพเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน |
||
สพสย 714
แบบจำลองคณิตศาสตร์เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน 2 (1-3-3)
การประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในงานระบาดวิทยา แบบจำลองในการพยากรณ์โรค การทำความเข้าใจในประเด็นความรู้ที่ไม่แจ่มชัด นิเวศวิทยาของโรค การประเมินความสัมฤทธิ์ผลของการปฏิบัติการเพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน |
||
สพสย 715
วิทยาการระบาดสำหรับนโยบายสาธารณะที่ยั่งยืน2 (2-0-4)
การตัดสินใจเพื่อกำหนดนโยบายโดยใช้กระบวนการทางระบาดวิทยา ขั้นตอนการพิจารณาในการกำหนดนโยบายที่ยั่งยืน การวางแผน การดำเนินงาน |
||
สวสย 716
นิเวศวิทยาอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน 3 (3-0-6)
แนวคิดและหลักการนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม ความเชื่อมโยงของสังคมกับอุตสาหกรรม การพัฒนาและสุขภาวะ การไหลของวัสดุและพลังงานในระบบอุตสาหกรรมและระบบนิเวศ การวิเคราะห์การไหลของสสาร การประเมินตลอดวัฏจักรชีวิต การจัดการห่วงโซ่อุปทาน เทคโนโลยีสะอาด การลดของเสีย ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ ฉลากคาร์บอนและรอยเท้าคาร์บอน อุตสาหกรรมเชิงนิเวศเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะที่ยั่งยืน |
||
สวสย 717 การศึกษาสิ่งแวดล้อมและการศึกษาเพื่อการพัฒนาสุขภาวะที่ยั่งยืน3 (3-0-6)
คำจำกัดความ สถานะ พัฒนาการของสิ่งแวดล้อมศึกษา การศึกษาเพื่อการพัฒนาสุขภาวะที่ยั่งยืน ความสัมพันธ์ของการศึกษาและปัญหาสิ่งแวดล้อม กระบวนการของสิ่งแวดล้อมศึกษาและการศึกษาเพื่อการพัฒนาสุขภาวะที่ยั่งยืน เป้าหมาย วัตถุประสงค์ หลักการและการประยุกต์สิ่งแวดล้อมศึกษา การศึกษาเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน |
||
วจสย 718
นโยบายสุขภาพโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3 (3-0-6)
ความซับซ้อนของประเด็นด้านสุขภาพโลก ภูมิทัศน์สุขภาพโลก โครงสร้างการบริหารจัดการ กลไกและกระบวนการในการพัฒนานโยบายสาธารณะสุขภาพโลกเพื่อความยั่งยืน ประเด็นสุขภาพที่อยู่เหนือความเป็นเขตแดนของชาติ มิติที่หลากหลายของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับสุขภาพโลก การกำหนดนโยบายสุขภาพโลกที่ยั่งยืน |
||
วจสย 719 ประชากร สิ่งแวดล้อม
และสุขภาวะที่ยั่งยืน 3 (3-0-6)
แนวคิดความสมพันธ์ของประชากร สิ่งแวดล้อมและสุขภาวะ หลักการและฐานข้อมูลทางประชากร การเปลี่ยนแปลงทางประชากรต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ ปัญหาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่มีต่อสุขภาพ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดโรค การขยายตัวของเมืองและการขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมในเมือง การพัฒนาโมเดล การวิเคราะห์ทางประชากร สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน |
วิทยานิพนธ์ | ||
แบบ 1 : สอสย 898 วิทยานิพนธ์ 48 (0-144-0)
การทำวิจัยเพื่อสร้างความรู้ใหม่หรือกระบวนการนำนโยบายสู่การปฏิบัติเพื่อการแก้ปัญหาด้านสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้คำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ การนำเสนอผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ การสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติ |
||
แบบ 2 : สอสย 699 วิทยานิพนธ์ 36 (0-108-0)
การทำวิจัยเพื่อสร้างความรู้ใหม่หรือกระบวนการนำนโยบายสู่การปฏิบัติเพื่อการแก้ปัญหาด้านสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้คำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ การนำเสนอผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ การสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติ |