ชื่องานสัมมนา: | การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร สร้างเสริมสุขภาวะคนมหิดล “MU Health Literacy Curriculum” สำหรับ ผู้นำมหิดลสุขภาพดีวิถีใหม่ |
ที่มาและความสำคัญ: | "เป้าประสงค์ของโครงการสนับสนุนการพัฒนาด้านการสร้างเสริมสุขภาพของมหาวิทยาลัยในเครือข่าย มุ่งหมายการส่งเสริมสุขภาวะของมหาวิทยาลัยในภูมิภาคอาเซียน (Health Promotion in the ASEAN Region) มีวัตถุประสงค์หลัก (Purpose) เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาบทบาทและศักยภาพให้ บุคลากรมีความรู้และทักษะการสร้างเสริมสุขภาพอนามัย สภาวะแวดล้อม และความอยู่ดีมีสุขของบุคลากรและนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ภายใต้กรอบแนวคิด AUN-HPN Healthy University โดยการดำเนินกิจกรรม 22 ขอบเขต (Framework: 22 Areas) ซึ่งประกอบด้วย 9 Systems and Infrastructure และ 13 Thematic Areas การดำเนินกิจกรรม 22 ขอบเขตดังกล่าว กำหนดให้มีการติดตามประเมินผลสำเร็จด้วยกรอบการติดตามประเมินผล Conceptual Framework of HURS: Tool for both self – and external evaluation for 22 areas ตามเกณฑ์คะแนน 6 หมวด (Healthy University Rating Systems: HURS 6 categories) ได้แก่ 1 – 199 = 1 star 200 – 399 = 2 stars 400 – 599 = 3 stars 600 – 799 = 4 stars 800 – 899 = 5 stars >= 900 = 5 stars plus มหาวิทยาลัยมหิดล เป็น 1 ใน 5 ของมหาวิทยาลัยในเครือข่าย ASEAN University Network – Health Promotion Network (AUN-HPN) และ ระหว่างปี 2564 - 2565 เป็นช่วงการดำเนินงานสนับสนุน การพัฒนาศักยภาพด้านการส่งเสริมสุขภาพของมหาวิทยาลัยในเครือข่าย โดยมหาวิทยาลัยมหิดลได้แต่งตั้งคณะทำงานของมหาวิทยาลัยมหิดล (Working Group Committee) รับผิดชอบประชุม วางแผน ดำเนินกิจกรรม และติดตามประเมินผลการส่งเสริมสุขภาพในมหาวิทยาลัยมหิดลตามช่วงเวลาดังกล่าว คณะกรรมการได้วางแผนงานย่อยหมวดต่าง ๆ และได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานส่วนหนึ่งของ Working Group Committee เป็นคณะทำงานแผนงานย่อย ดำเนินงาน หมวด WG.02 เป็นการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยมหิดลทั้งในระดับนักศึกษาอาจารย์ รวมถึงบุคลากรสายสนับสนุน และ WG.03 กิจกรรมขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพในมหาวิทยาลัยมหิดล Healthy University Day " |
หัวข้อในการสัมมนา: |
"1 ""จับทาง ความรอบรู้ทางสุขภาพ (Health Literacy) กับ วิถีปกติใหม่”
2 แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ""การพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็น Healthy Organization และรางวัลจาก เครือข่ายคนไทยไร้พุง และ สสส.” 3 “การเสริมสร้างสุขภาพดีวิถีใหม่ในกลุ่มนักศึกษาเพื่อนำไปสู่ Zero Tolerance Areas และเครื่องมือเพื่อการเสริมสร้างสุขภาพดีวิถีใหม่”" |
สถานที่จัดงาน: | สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน และผ่านระบบออนไลน์ |
หน่วยงานที่ร่วมจัดงาน: |
"คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี สถาบันวิจัยประชากรและสังคม คณะเทคนิคการแพทย์ " |
บทบาทของหน่วยงาน: | - |
วัตุประสงค์ของการจัดงาน: |
"1 สร้าง “ผู้นำมหิดลสุขภาพดีวิถีใหม่” ในกลุ่มบุคลากร สามารถใช้ Application ผ่าน
www.mtitmahidol.com ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจากการดำเนินกิจกรรมทางกาย การผ่อนคลาย
การบริโภค
2 สร้าง “ผู้นำนักศึกษามหิดลสุขภาพดีวิถีใหม่” ในกลุ่มนักศึกษา สามารถ (1) ใช้ Application ผ่าน www.mtitmahidol.com ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จากการดำเนินกิจกรรมทางกาย การผ่อนคลาย การบริโภค (2) สามารถดำเนินกิจกรรมรณรงค์ ประเด็น ความปลอดภัย จาก เหล้า บุหรี่ สารเสพติด การพนัน อันตรายจากการขับขี่ยานพาหนะ ฯลฯ 3 ถ่ายทอดองค์ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ การสร้างเสริมสุขภาวะ ภายใต้ 22 areas ของ AUN-HPN Healthy University Framework" |
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม: | 500 คน |
ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม: | 18 มกราคม 2565 |
ข้อสรุปที่ได้จากงานสัมมนา/Conference (ถ้ามี): | การอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ของมหาวิทยาลัยมหิดลในครั้งนี้ เป็นการสร้าง “ผู้นำมหิดลสุขภาพดีวิถีใหม่” ในกลุ่มบุคลากร และกลุ่มนักศึกษาให้สามารถใช้ Application ผ่าน www.mtitmahidol.com ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจากการดำเนินกิจกรรมทางกาย การผ่อนคลาย การบริโภค การดำเนินกิจกรรมรณรงค์ ด้านความปลอดภัย จาก เหล้า บุหรี่ สารเสพติด การพนัน และอันตรายจากการขับขี่ยานพาหนะ ฯลฯ รวมถึงการเป็นผู้นำถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างความเข้าใจ และพัฒนาทักษะ การสร้างเสริมสุขภาวะภายใต้ 22 areas ของ AUN-HPN Healthy University Framework ซึ่งการอบรมครั้งนี้ มีบุคลากรและนักศึกษา จากทุกส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล จำนวนทั้งสิ้น 44 แห่ง สมัครเข้าร่วมกิจกรรมใช้ Application ผ่าน www.mtitmahidol.com มากกว่า 500 คน หัวข้อในการอบรมประกอบด้วยเรื่อง “จับทาง ความรอบรู้ทางสุขภาพ (Health Literacy) กับ วิถีปกติใหม่” โดย ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ ประสิทธ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรื่อง “การพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็น Healthy Organization และรางวัลจาก เครือข่ายคนไทยไร้พุง และ สสส.” โดย พว.ดร.รุ่งอรุณ เกศวหงส์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสร้างเสริมสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, เรื่อง “การเสริมสร้างสุขภาพดีวิถีใหม่ในกลุ่มนักศึกษาเพื่อนำไปสู่ Zero Tolerance Areas และเครื่องมือเพื่อการเสริมสร้างสุขภาพดีวิถีใหม่” โดยทีมวิทยากรของคณะทำงานของมหาวิทยาลัยมหิดลเครือข่าย AUN-HPN |
ผลลัพธ์ที่ได้จากงานสัมมนา/Conference (ถ้ามี): | ได้ “ผู้นำมหิดลสุขภาพดีวิถีใหม่” เป็นตัวแทนถ่ายทอดองค์ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ การสร้างเสริมสุขภาวะที่ดี ภายใต้ 22 ประเด็นหลักของกรอบแนวทางมหาวิทยาลัยส่งเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน |
Web link linkเอกสารแนบ/รายงานข้อมูลเพิ่มเติม/เพื่ออ้างอิงผลลัพธ์หรือการดำเนินงาน: |
ข่าว: https://mahidol.ac.th/th/2022/health-literacy-curriculum/
เอกสาร: pdf/กำหนดการอบรม 18012022 - Thiprada Kongtapan.pdf |
รูปภาพประกอบ: | |
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ: | 3 4 5 6 11 12 17 |