ชื่องานสัมมนา: | การจัดฝึกอบรม “การประเมินมหาวิทยาลัยส่งเสริมสุขภาพด้วยเครื่องมือ Healthy University Rating Systems (HURS)” |
ที่มาและความสำคัญ: | "มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการพิจารณาจากเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network - AUN) ให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นสำนักงานเลขาธิการของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพ (ASEAN University Network – Health Promotion Network - AUN-HPN) ซึ่งตั้งอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมติในที่ประชุม The 6th International Advisory Committee Meeting (IAC) วันที่ 5 พฤศจิกายน 2563 วาระที่ 6.3 ให้มีพัฒนาระบบการประเมิน Mahidol - ASEAN Rating on Health University (MARHU) เป็นระบบ Healthy University Rating Systems (HURS) ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานของคณะกรรมการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การทำงานของ Healthy University Rating Systems (HURS) จึงแต่งตั้งคณะทำงานแกนนำในการพัฒนาระบบ Healthy University Rating Systems (HURS) เพื่อมาปฏิบัติหน้าที่ให้การพัฒนาระบบ HURS ให้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เนื่องด้วยเครือข่าย ASEAN University Network – Health Promotion Network (AUN-HPN) เป็นเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระดับภูมิภาคของผู้เชี่ยวชาญทางด้านการส่งเสริมสุขภาพในสถาบันการศึกษา เพื่อส่งเสริมบทบาทของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมการมีวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดี และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการมุ่งสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยสุขภาพ” (Healthy University) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน จำนวน 30 สถาบัน ใน 10 ประเทศ เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านกลไกความร่วมมือ ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในการดำเนินงานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ และได้ร่วมกันจัดทำร่าง AUN - Healthy University Framework เพื่อเป็นเครื่องมือในการกำหนดมาตรฐานของการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ และเป็นแนวทางให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ นำไปกำหนดนโยบายและผลักดันไปสู่การปฏิบัติต่อไป ดังนั้นจึงเป็นที่มาให้มีการพัฒนาระบบ HURS Web Application Online เพื่อนำมาใช้ในการประมวลผลโครงการดังกล่าว ในการนี้ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าหมาย สำนักงานเลขาธิการเครือข่าย AUN-HPN จึงได้กำหนดให้มีการจัดโครงการจัดฝึกอบรมตัวแทนจากมหาวิทยาลัยสมาชิกเพื่อพัฒนาผู้ประเมิน ด้านการสร้างเสริมสุขภาพตามระบบ HURS หรือ “การประเมินมหาวิทยาลัยส่งเสริมสุขภาพด้วยเครื่องมือ Healthy University Rating Systems (HURS)” รุ่นที่ 1 ในวันที่ 29 มีนาคม 2565 " |
หัวข้อในการสัมมนา: |
1 บทบาทของ สสส. ในการพัฒนาศักยภาพด้านการสร้างเสริมสุขภาพของมหาวิทยาลัยไทยและภูมิภาคอาเซียน
2 บทบาทของ AUN-HPN ในการขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยส่งเสริมสุขภาพในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน 3 กรอบแนวทางมหาวิทยาลัยส่งเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน (AUN Healthy University Framework : HUF) 4 From HUF to HURS    - กรอบแนวคิดการพัฒนา และผลลัพธ์การดำเนินงานของ Healthy University Rating System (HURS) Version 2021   - HURS Version 2022 5 อภิปรายแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและตอบคำถาม |
สถานที่จัดงาน: | สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน และผ่านระบบออนไลน์ |
หน่วยงานที่ร่วมจัดงาน: | สสส. / มหาวิทยาลัยมหิดล / สำนักงานเลขาธิการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพ |
บทบาทของหน่วยงาน: | ผู้ริเริ่ม /เจ้าภาพ/ผู้ประสานงาน |
วัตุประสงค์ของการจัดงาน: | เพื่อสร้างความเข้าใจ และร่วมแลกเปลี่ยนการนำเกณฑ์การประเมิน HURS มาใช้ในการติดตามประเมินผลมหาวิทยาลัยสุขภาวะ ภายใต้กรอบแนวทางมหาวิทยาลัยส่งเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน หรือ AUN Healthy University Framework และเป็นแนวในการกำหนดนโยบายสร้างเสริมสุขภาพภายในสถาบันการศึกษา และผลักดันไปสู่การปฏิบัติเพื่อการสร้างสุขภาพที่ดีของบุคคลากร นักศึกษา และเครือข่ายของสถาบันการศึกษาทุกภาคส่วน |
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม: | จำนวนทั้งสิ้น 76 คน จาก 11 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม: | วันที่ 29 มีนาคม 2565 เวลา 09.00-12.00 น. |
ข้อสรุปที่ได้จากงานสัมมนา/Conference (ถ้ามี): |
"การจัดอบรมดังกล่าว
เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพด้านการสร้างเสริมสุขภาพของมหาวิทยาลัยในเครือข่าย
AUN-HPN ที่ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล
และงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
จากการที่ทางสำนักงานเลขาธิการเครือข่าย AUN-HPN โดยคณะทำงานแกนนำในการพัฒนาระบบ Healthy University
Rating Systems (HURS) ได้ทดลองใช้ระบบการประเมิน HURS แบบออนไลน์ในปี 2021 ที่ผ่านมา
มีมหาวิทยาลัยหลายแห่งทั้งในและต่างประเทศให้ความสนใจและสมัครเข้าร่วมรับการประเมิน
จากผลการประเมินตนเองของมหาวิทยาลัยและการทวนสอบผลโดยผู้ประเมิน
ทำให้มหาวิทยาลัยสมาชิกได้ทราบถึงสถานะของตนว่ามีการดำเนินงานด้านส่งเสริมสุขภาพได้สอดคล้องและสัมฤทธิ์ผลตาม
AUN - Healthy University Framework มากน้อยเพียงใด ได้ทราบจุดอ่อนจุดแข็ง
ที่จะเป็นข้อมูลนำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ระหว่างมหาวิทยาลัยสมาชิก
เกิดความตระหนักถึงการขับเคลื่อนงานด้านนโยบายสร้างเสริมสุขภาพของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ
ในภูมิภาคอาเซียน
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ มีการเตรียมความพร้อมสำหรับการประเมินมหาวิทยาลัยส่งเสริมสุขภาพด้วยเครื่องมือ Healthy University Rating Systems (HURS) ใน Version 2022 เพื่อเปิดระบบการประเมินให้มหาวิทยาลัยในอาเซียนที่สนใจ สมัครเข้าร่วมการประเมินมหาวิทยาลัยส่งเสริมสุขภาพด้วยเครื่องมือ HURS ที่จะมีขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม ถึง พฤศจิกายน 2565 ซึ่งหวังว่าระบบ HURS จะมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และสามารถขยายผลสู่การยอมรับในระดับสากลมากยิ่งขึ้นต่อไปวข้องในการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายร่วมกัน คือการเป็น Healthy University " |
ผลลัพธ์ที่ได้จากงานสัมมนา/Conference (ถ้ามี): | พัฒนาคู่มือ Healthy University Rating Systems (HURS) Version 2022 |
Web link linkเอกสารแนบ/รายงานข้อมูลเพิ่มเติม/เพื่ออ้างอิงผลลัพธ์หรือการดำเนินงาน: |
ข่าว: https://aihd.mahidol.ac.th/news/show_news.php?news_id=372
เอกสาร: pdf/กำหนดการอบรม HURS รุ่น 1_29032565 - Thiprada Kongtapan.pdf |
รูปภาพประกอบ: | |
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ: | 3 4 17 |