AIHD: Sustainable Development Goals (SDGs)


ชื่องานวิจัย: การวิเคราะห์พลวัตระบบของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในภาคประชาชน รูปแบบระดับจังหวัด : กรณีศึกษาจังหวัดนครนายก
คณะ/สาขาวิชา: สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดนครปฐม
ที่มาและความสำคัญ: ด้วยความซับซ้อนของระบบยาและความซับซ้อนของปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผลในหน่วยบริการและในชุมชน จึงนำแนวคิดเชิงพลวัตระบบ (System dynamics) มาเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัย
ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา: วิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สำรวจความรู้ของแพทย์ สัมภาษณ์เชิงลึก/สนทนากลุ่มผู้กำหนดนโยบาย ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ผู้ประกอบการ สื่อ รวมทั้งแพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข ประชาชน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายก สาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (อำเภอเมือง บ้านนา องครักษ์ และปากพลี) รวม 189 ราย และสำรวจข้อมูลเชิงปริมาณกับกลุ่มตัวอย่าง 254 ราย รวมไปถึงการสร้างแบบจำลองพลวัตระบบร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เข้าร่วมประชุม 105 ราย
วัตถุประสงค์: ศึกษารูปแบบความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสม เหตุผลของภาคประชาชนด้วยแนวคิดของระบบที่ซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงตามเวลาโดยการ 1. สังเคราะห์แผนผังความสัมพันธ์เชิงเหตุผล (Causal loop diagrams; CLDs) ของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในภาคประชาชนในระดับจังหวัด
2. ประมาณการความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลของภาคประชาชนในระดับจังหวัด เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลโดยสร้างแบบจำลองพลวัตระบบ (System Dynamics model) ของ ความสัมพันธ์ดังกล่าว
แหล่งทุนสนับสนุน: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
หน่วยงานที่ร่วมมือ: 1. กระทรวงสาธารณสุข
2. ผู้ประกอบการ
3. องค์กรสื่อ
4. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายก
5. สาธารณสุขอำเภอ
6. โรงพยาบาล
7. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (อำเภอเมือง บ้านนา องครักษ์ และปากพลี)
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: 1. กระทรวงสาธารณสุข
2. บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
3. ผู้ประกอบการ
4.ประชาชน
5. ชุมชน
ระดับความร่วมมือ: ระดับท้องถิ่น
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ (ระบุวันที่มีการนำไปใช้): นำเสนอข้อมูลเชิงนโยบาย และแบบจำลองตัวอย่างจากการคาดการณ์รูปแบบความสัมพันธ์ของปัจจัยฯ เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายนำไปใช้ประกอบการวางแผนพัฒนา และตัดสินใจเกี่ยวกับมาตรการและนโยบายขับเคลื่อนงานด้านการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืนต่อไปในประชาชน
Web link อ้างอิงผลลัพธ์หรือการดำเนินงาน: Link: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5195
เอกสารแนบประกอบ: https://drive.google.com/file/d/1HqBI5uUHX4gVHKrvJu7luDAFfNIjjp1o/view?usp=sharing
รูปภาพประกอบ:
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ: 3