AIHD: Sustainable Development Goals (SDGs)


ชื่องานวิจัย: การประเมินสถานการณ์ของชุมชน ผู้สูงวัย รูปแบบของอุปกรณ์ และรูปแบบเครือข่ายที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาอุปกรณ์และเครือข่ายเสียงเรียกช่วยชีวิตที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงวัยในชุมชน
คณะ/สาขาวิชา: สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มาและความสำคัญ: จำนวนและสัดส่วนของประชากรโลกกำลังเข้าสู่ยุคการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำนวนประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น วิถีชีวิตและค่านิยมในการดูแลคนเฒ่าคนแก่ในครอบครัวไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ผู้สูงอายุที่อยู่บ้านตามลำพังมากขึ้น กอปรกับปัจจุบันเทคโนโลยีและระบบสื่อสารมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้คนในสังคมมีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ข้อมูลและข่าวสารได้รวดเร็วทันใจ ในส่วนของหน่วยงานเอกชนบางแห่งได้ใช้หลักการของเทคโนโลยีการสื่อสารประดิษฐ์อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยส่วนบุคคล สัญญาณกันการโจรกรรมที่ต่อเข้ากับโทรศัพท์มือถือ ในส่วนของการแพทย์ได้มีการประดิษฐ์อุปกรณ์วัดการเคลื่อนไหวเพื่อตรวจจับการล้มในผู้ป่วยและผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตามการใช้เทคโนโลยีสื่อสารยังจำกัดอยู่ในวงแคบตามฐานะและความพร้อมทางเศรษฐกิจ จากการเปลี่ยนผ่านประชากรสู่สังคมสูงวัยทำให้ทั่วโลกเกิดความตื่นตัวเตรียมพร้อมที่จะเป็นสังคมสูงวัยที่มีคุณภาพ เนื่องจากโลกในยุคปัจจุบันเป็นสังคมยุคเทคโนโลยี การวิจัยเพื่อพัฒนา จัดการและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมแก่ชุมชน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อคนในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องอยู่ตามลำพังที่นับวันจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงเป็นสิ่งที่ควรเร่งดำเนินการเป็นอย่างยิ่ง ในปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดทำการวิจัยและพัฒนาระบบเทคโนโลยีการสื่อสารที่สามารถเข้าไปให้ความช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรสูงวัยที่อยู่ตามลำพังในชุมชนได้อย่างครอบคลุม การวิจัยในครั้งนี้จึงเป็นแบบบูรณาการศาสตร์ ซึ่งรวมนักวิจัยด้านผู้สูงอายุ นักวิจัยด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ และนักสังคมศาสตร์ เพื่อร่วมกันสร้างนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ในชุมชนด้วยความเหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย โดยการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมนี้จะคำนึงถึงต้นทุนการผลิตที่พอเพียงกับเศรษฐกิจประเทศ การใช้งานที่เหมาะสมกับสังคมไทย ง่ายต่อการใช้งานและบำรุงรักษา และที่สำคัญคนในชุมชนต้องสามารถช่วยเหลือบริหารจัดการในชุมชนได้เองอย่างยั่งยืนต่อไป
ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา: ทำการศึกษาในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ประชากรตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ที่อาศัยในชุมชนชนบท ชุมชนกึ่งเมือง และชุมชนเมือง รวมทั้งหมด 9 ชุมชน 60 หมู่บ้าน การวิจัยเป็นแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่มประชากรสูงวัยที่มีบทบาทในชุมชน รวมทั้งหมด 6 กลุ่มๆ ละ 12 คน ประกอบด้วย เทศบาลเมือง 2 กลุ่ม เทศบาลตำบล 2 กลุ่ม และองค์การบริหารส่วนตำบล 2 กลุ่ม การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามเชิงปริมาณกับผู้สูงอายุ 1,214 คน จาก เทศบาลเมือง 401 คน เทศบาลตำบล 405 คน และองค์การบริหารส่วนตำบล 408 คน
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินสถานการณ์ของชุมชน ผู้สูงวัยในชุมชน รูปแบบของอุปกรณ์ และรูปแบบเครือข่ายที่เหมาะสมในการพัฒนาอุปกรณ์และเครือข่ายเสียงเรียกช่วยชีวิตที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงวัยในชุมชน
แหล่งทุนสนับสนุน: งบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2562
หน่วยงานที่ร่วมมือ: 1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
2. องค์กรสาธารณสุข
3. องค์กรท้องถิ่น
4. ผู้นำชุมชน
5. กลุ่มอาสาสมัคร
6. ผู้สูงอายุ
7. คนในชุมชน เขตพื้นที่ 4 อำเภอ 9 ชุมชนของจังหวัดนครปฐม
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: 1. องค์กรสาธารณสุข
2. องค์กรท้องถิ่น
3. ผู้นำชุมชน
4. กลุ่มอาสาสมัคร
5. ผู้สูงอายุ
6. คนในชุมชน
ระดับความร่วมมือ: ระดับท้องถิ่น
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ (ระบุวันที่มีการนำไปใช้): การประเมินสถานการณ์ของชุมชน ผู้สูงวัย รูปแบบของอุปกรณ์ และรูปแบบเครือข่ายที่เหมาะสม จะทำให้ทีมวิจัยได้ข้อมูลเพื่อที่จะพัฒนาอุปกรณ์และเครือข่ายเสียงเรียกช่วยชีวิตที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงวัยในชุมชน ซึ่งอุปกรณ์หรือนวัตกรรมที่ประดิษฐ์ให้ผู้สูงวัยสวมใส่ติดตัว จะทำให้ผู้สูงวัยสามารถกดสัญญาณขอความช่วยเหลือกรณีฉุกเฉิน หรือถ้ามีการหกล้มทั้งแบบมีสติหรือหกล้มแล้วหมดสติ sensor ที่ใส่ติดตัวจะส่งสัญญาณแจ้งเตือนให้ผู้ที่อยู่ที่ศูนย์รับแจ้งเหตุทราบเพื่อให้ความช่วยเหลือ จะเห็นได้ว่านวัตกรรมที่ประดิษฐ์ขึ้นจะสามารถเพิ่มความมั่นใจ ปลอดภัย และคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยได้อย่างประจักษ์
Web link อ้างอิงผลลัพธ์หรือการดำเนินงาน: เอกสารแนบประกอบ: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
รูปภาพประกอบ:
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ: 3 11