AIHD: Sustainable Development Goals (SDGs)


ชื่องานวิจัย: โครงการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีใน 10 กลุ่มประชากรเป้าหมายพื้นที่่กรุงเทพมหานคร ปี 2562
คณะ/สาขาวิชา: สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มาและความสำคัญ: การสำรวจพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ดำเนินการมาเป็นเวลา 14 ปี (ตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 จนถึงปัจจุบัน) มีจำนวนตัวอย่างทั้งหมด 71,057 ราย โดยดำเนินการสำรวจพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มตัวอย่างต่างๆ ประกอบด้วย กลุ่มนักเรียน กลุ่มประชาชนทั่วไป และกลุ่มประชากรเฉพาะ สำหรับการดำเนินการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีของปี 2562 จะดำเนินการสำรวจกลุ่มประชากร 10 กลุ่ม เพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องได้ใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดนโยบายดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครต่อไป
ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา: - ประชากร 10 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มนักเรียนอาชีวศึกษาระดับ ปวช. ปี 2 กลุ่มหญิงบริการทางเพศ กลุ่มผู้ติดยาเสพติด กลุ่มชายที่่มีเพศสัมพันธ์กับชาย กลุ่มพนักงานในสถานประกอบกิจการ กลุ่มทหารเกณฑ์ประจำการ กลุ่มประชาชนในชุมชน และกลุ่มแรงงานต่างด้าว
- พื้นที่ศึกษาในกรุงเทพมหานคร
- ศึกษาครอบคลุมพฤติกรรมทางเพศ พฤติกรรมการใช้สารเสพติด และพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งผลของการเฝ้าระวังพฤติกรรม
วัตถุประสงค์: 1. เพื่่อศึกษาพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มประชากรที่เฝ้าระวัง
2. เพื่่อทราบแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มประชากรที่เฝ้าระวัง
แหล่งทุนสนับสนุน: กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
หน่วยงานที่ร่วมมือ: 1. กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
2. โรงเรียนที่เป็นพื้นที่ศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร
3. คลินิกบำบัดรักษาผู้ใช้สารเสพติด และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.)
4. สถานประกอบกิจการ
5. หน่วยงานทหาร
6. ชุมชน"
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: 1. กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร 1. ผู้บริหาร อาจารย์ และนักเรียนในโรงเรียนที่เป็นพื้นที่ศึกษา
3. ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่คลินิกบำบัดรักษาผู้ใช้สารเสพติด และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.)
4. ผู้ประกอบการและพนักงานในสถานประกอบกิจการ
5. ผู้บริหารและทหารเกณฑ์ในสังกัดหน่วยงานทหาร
6. เจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร และประชาชนในชุมชน
ระดับความร่วมมือ: ระดับท้องถิ่น
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ (ระบุวันที่มีการนำไปใช้): รายงานนี้จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องได้ใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดนโยบายดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (มีนาคม 2563)
Web link อ้างอิงผลลัพธ์หรือการดำเนินงาน: รายงานการวิจัย
รูปภาพประกอบ:
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ: 3