AIHD: Sustainable Development Goals (SDGs)


ชื่องานวิจัย: การสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
คณะ/สาขาวิชา: สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มาและความสำคัญ: การจัดตั้งคณะกรรมการสุขภาพระดับอำเภอ (District health system) มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมระบบริการสุขภาพตั้งแต่ระดับปฐมภูมิถึงตติยภูมิ อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ยังเกิดจากการให้บริการของโรงพยาบาลมากกว่าการสนับสนุนเพื่อการส่งเสริมสุขภาพหรือการดูแลจากพื้นที่ภายใต้แนวคิด “พื้นที่เป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง” จึงทำให้ในปี พ.ศ. 2558 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้มีมติดำเนินงานตามกรอบการดำเนินงานวาระปฏิรูปแห่งชาติเพื่อปฏิรูประบบสาธารณสุขภายใต้แนวคิดดังกล่าว จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2561 ได้มีประกาศระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ. หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า District Health Board) โดยกำหนดโครงสร้างและระบบการทำงานของ พชอ. ที่ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารจัดการของคณะกรรมการสุขภาพระดับอำเภอเดิมที่รวมศูนย์การบริหารจัดการไว้ที่ภาคสาธารณสุข ให้เป็นโครงการสร้างที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกันของภาคส่วนต่างๆ ในระดับอำเภอมากขึ้น
ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา: ดำเนินงานวิจัยใน พชอ. ทั้งสิ้น 24 อำเภอจาก 8 จังหวัด ประกอบด้วย นครสวรรค์ น่าน สระบุรี ราชบุรี นครพนม ศรีสะเกษ ชุมพร และสงขลา แบ่งเป็น พชอ. กลุ่มที่มีการดำเนินงานระดับดี 10 อำเภอ พชอ. กลุ่มที่มีการดำเนินงานระดับปานกลาง 8 อำเภอ และ พชอ. กลุ่มที่มีการดำเนินงานระดับริเริ่มดำเนินการ 6 อำเภอ ซึ่งได้คัดเลือกตามคำแนะนำของผู้ประสานงานพื้นที่ พชอ. ของแต่ละจังหวัด
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลการนำนโยบายของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอไปปฏิบัติว่าจะสามารถมุ่งสู่การเป็นระบบสุขภาพระดับอำเภอที่มีลักษณะบูรณาการและมีประชาชนเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐาน Primary Health Care มากน้อยเพียงไร พร้อมทั้งสังเคราะห์ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
แหล่งทุนสนับสนุน: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
หน่วยงานที่ร่วมมือ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด, สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ, โรงพยาบาลจังหวัด, โรงพยาบาลอำเภอ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: 1. กระทรวงสาธารณสุข (กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สำนักบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย) กระทรวงมหาดไทย (กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
2. หน่วยงานระดับจังหวัด (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงจังหวัด กาชาดจังหวัด)
3. องค์กร/หน่วยงานด้านสาธารณสุขในพื้นที่ (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล/อบต.)
4. หน่วยงานด้านสถาบันการศึกษา
5. หน่วยงาน/องค์กรภาคเอกชน (เอกชนที่ดำเนินการด้านสาธารณสุข/อื่นๆ) องค์กรชุมชน (กลุ่ม ชมรม) และภาคประชาสังคม (ภูมิปัญญาท้องถิ่น อาสาสมัคร)
ระดับความร่วมมือ: ระดับประเทศ
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ (ระบุวันที่มีการนำไปใช้): "การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ด้านนโยบาย
1. ได้นโยบายในการสนับสนุนการดำเนินงานของ พชอ. ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อมุ่งสู่การเป็นระบบสุขภาพระดับอำเภอที่มีลักษณะบูรณาการ และมีประชาชนเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐาน Primary Health Care ไปปฏิบัติ
2. ข้อเสนอแนะการยกระดับประสิทธิภาพกลไกการทำงาน พชอ. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างเป็นระบบภายใต้แนวคิดพื้นที่เป็นฐาน “ประชาชนเป็นศูนย์กลาง คนอำเภอเดียวกันไม่ทอดทิ้งกัน”
3. ได้แบบอย่างที่ดีในการสร้างรูปแบบบูรณาการการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มาจากความร่วมมือของหลายภาคส่วน

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ด้านชุมชนและพื้นที่ เป็นข้อมูลในการพัฒนาหนุนเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในการทำ ร่วมดำเนินนโยบาย มีส่วนร่วมในการให้บริการสุขภาพ มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพของตนเองและผู้ช่วยเหลืออื่น อันนำไปสู่มีสุขภาพดีและความเป็นอยู่ที่ดี
การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ด้านวิชาการ
1. มีการเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการเพื่อมุ่งสู่การเป็นระบบสุขภาพระดับอำเภอที่มีลักษณะบูรณาการ และมีประชาชนเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐาน Primary Health Care ไปปฏิบัติตามบริบทของประเทศไทย
2. ทราบถึงประเด็นงานวิจัยในอนาคตที่จะตอบสนองและสอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ
3. มีการเผยแพร่องค์ความรู้สำหรับเป็นหลักฐานอ้างอิงทางวิชาการในช่องทางสื่อสารต่างๆ"
Web link อ้างอิงผลลัพธ์หรือการดำเนินงาน: รายงานผลฉบับสมบูรณ์
รูปภาพประกอบ:
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ: 3