AIHD: Sustainable Development Goals (SDGs)


ชื่องานวิจัย: โครงการศึกษาและพัฒนาการศึกษาและฝึกอบรมด้านเวชศาสตร์วิถีชีวิต
คณะ/สาขาวิชา: สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มาและความสำคัญ: ในปัจจุบัน โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable Diseases: NCDs) นับเป็นปัญหาสุขภาพที่ก่อให้เกิดอัตราการเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาที่ค่อนข้างสูง และยังเป็นปัญหาท้ายทายในหลายประเทศ บางประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วพยายามแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการพัฒนาและให้การฝึกอบรมด้านเวชศาสตร์วิถีชีวิต (Lifestyle Medicine) และพบว่าบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรมด้านเวชศาสตร์วิถีชีวิตอย่างดีมีความสามารถในการสนับสนุนให้ผู้รับบริการปรับพฤติกรรมสุขภาพได้ดีขึ้น
ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา: แพทย์ที่สนใจเข้าฝึกอบรมประมาณ 160 ราย
วัตถุประสงค์: 1. เพื่อทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาการของ Lifestyle Medicine รวมทั้งโปรแกรมต่างๆ ที่ใช้พัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด้าน Lifestyle Medicine ในระดับนานาชาติและในประเทศไทย
2. เพื่อศึกษาความต้องการด้านการศึกษาและฝึกอบรมหลักสูตร Lifestyle Medicine ในบริบทประเทศไทย
3. เพื่อเสนอหลักสูตรในสาขา Lifestyle Medicine ระดับหลังปริญญาสำหรับแพทย์และผู้ให้บริการในระดับปฐมภูมิ (Medical and Health Professionals at Primary Care Level)
4. เพื่อสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับการใช้ Lifestyle Medicine ในทุกมิติของระบบบริการ
แหล่งทุนสนับสนุน: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
หน่วยงานที่ร่วมมือ: สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย กรมอนามัย กรมสุขภาพจิต สำนักวิชาการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข BDMS Wellness Clinic คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: แพทย์จากสาขาต่าง ๆ ที่สนใจ สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย
ระดับความร่วมมือ: ระดับประเทศ
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ (ระบุวันที่มีการนำไปใช้): ได้นำผลการศึกษาและวิจัยพัฒนาเป็น concept paper และ มคว. 1 ยื่นต่อแพทยสภาเพื่อขออนุมัติรับรองเป็นแขนงวิชาใหม่ของสาขาวิชาเวชศาสตร์ป้องกัน
Web link อ้างอิงผลลัพธ์หรือการดำเนินงาน: รายงานฉบับสมบูรณ์
รูปภาพประกอบ:
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ: 3