ชื่องานวิจัย: | การสังเคราะห์ทางเลือกและข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน |
คณะ/สาขาวิชา: | สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล |
ที่มาและความสำคัญ: | อสม./อสส. นับเป็นบุคลากรที่สำคัญของระบบสุขภาพไทยซึ่งเป็นผู้ที่เชื่อมต่อระหว่างภาคประชาชนและภาคบริการสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการสุขภาพปฐมภูมิ ซึ่งบทบาทของ อสม. ในยุคหลังโควิด 19 ควรจะต้องเป็นผู้ที่มีความเข้าใจในปัญหาต่างๆ เชิงระบบทั้งปัจจัยทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ สามารถกำหนดแนวทางเพื่อแก้ไขและสนับสนุนได้โดยมีบทบาทหน้าที่ที่เข้มแข็ง ครอบคลุมประชาชนทั่วไป กลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยเรื้อรัง ซึ่งจะเห็นได้ว่า อสม. ไม่เพียงเป็นผู้ร่วมให้บริการสุขภาพเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการเป็นนักจัดการสุขภาพชุมชน และเป็นนวัตกรสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ |
ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา: | เก็บข้อมูลโดยการทบทวนเอกสาร ร่วมกับการศึกษาจากกรณีศึกษา การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และการค้นภาพอนาคต โดยมีการสัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม เน้นความคิดเห็นและการตัดสินใจร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของ อสม./อสส. ทำการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูล แบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย อสม./อสส. ผู้นำชุมชน ผู้สนับสนุนการปฏิบัติงานของ อสม./อสส. และผู้ทำงานเกี่ยวข้องกับ อสม./อสส. ในระบบสุขภาพชุมชน ครอบคลุม 8 พื้นที่ ประกอบด้วย พื้นที่ของเขตบริการของศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา จันทบุรี กาญจนบุรี เชียงใหม่ ร้อยเอ็ด ปัตตานี สุราษฎร์ธานี และเขตบริการสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร จำนวน 800 คน โดยครอบคลุมผู้ให้ข้อมูลในระดับนโยบาย ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ ผู้บริหารท้องถิ่น และประชาชน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสังเคราะห์ข้อสรุปในประเด็นสำคัญ |
วัตถุประสงค์: |
เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปบทบาทของ อสม./อสส.
เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อ
1) กำหนดทางเลือกของแนวทางเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปบทบาทของ อสม. เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อเสนอแนะเพื่อใช้ประกอบเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาทางเลือกแต่ละทางเลือก 3) ประเมินทางเลือกของแนวทางสนับสนุนการปฏิรูปบทบาทของ อสม. เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 4) พัฒนาแนวทางเบื้องต้นให้แก่องค์กรในการบริหารและสนับสนุนการปฏิรูป อสม./อสส. เพื่อพิจารณานำไปดำเนินการ |
แหล่งทุนสนับสนุน: | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) |
หน่วยงานที่ร่วมมือ: | กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร |
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: |
1. กระทรวงสาธารณสุข (กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ) กระทรวงมหาดไทย (กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น)
กรุงเทพมหานคร (สำนักอนามัย)
2. หน่วยงานระดับจังหวัด (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด โรงพยาบาลประจำจังหวัด) 3. องค์กร/หน่วยงานด้านสาธารณสุขในพื้นที่ (ศูนย์พัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานภาค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล/อบต. ชมรม อสม. ในพื้นที่ ศูนย์ ศสมช.) 4. หน่วยงาน/องค์กรภาคเอกชน องค์กรชุมชน (กลุ่ม ชมรม) และภาคประชาสังคม |
ระดับความร่วมมือ: | ระดับประเทศ |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ (ระบุวันที่มีการนำไปใช้): |
"การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ด้านนโยบาย
ด้านการบริหารจัดการแผนงานวิจัยกำลังคนด้านสุขภาพ แผนงานวิจัยระบบบริการสุขภาพ
การพัฒนาภาพรวมกำลังคนด้านการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศ
และกำหนดมาตรฐานข้อมูลกำลังคนด้านสุขภาพของประเทศ ได้แก่
1. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปบทบาทของ อสม./อสส. เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายพัฒนาที่ยั่งยืน 2. ข้อเสนอแนะเพื่อใช้ประกอบเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาทางเลือกแต่ละทางเลือกของแนวทางเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปบทบาทของ อสม. /อสส. เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 3. ทางเลือกของแนวทางสนับสนุนการปฏิรูปบทบาทของ อสม. เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเกณฑ์พิจารณาที่เสนอไว้ในเบื้องต้น เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปประกอบการตัดสินใจในโอกาสต่อไป 4. แนวทางเบื้องต้นให้แก่องค์กรในการบริหารและสนับสนุนการปฏิรูปบทบาท อสม. /อสส. ที่ควรต้องมีการดำเนินการ หากทางเลือกใดทางเลือกหนึ่งที่นำเสนอไว้ได้รับการเลือกไปดำเนินการต่อไป การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ด้านชุมชนและพื้นที่ เป็นข้อมูลสำหรับองค์กรในพื้นที่ เพื่อการหนุนเสริมให้ อสม. ชุมชน ประชาชน มีความเข้มแข็งในการร่วมดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพโดยภาคประชาชน มีส่วนร่วมด้านการจัดการสุขภาพ มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพของตนเองและช่วยเหลือผู้อื่นในครอบครัวและในชุมชน อันนำไปสู่การมีสุขภาพดีและความเป็นอยู่ที่ดี บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ด้านวิชาการ 1. มีการเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับผลการวิจัย ในการประชุมวิชาการนำเสนอผลการวิจัยสู่สาธารณะ 2. มีการเผยแพร่องค์ความรู้สำหรับเป็นหลักฐานอ้างอิงทางวิชาการ วารสารวิชาการ Website" |
Web link อ้างอิงผลลัพธ์หรือการดำเนินงาน: | รายงานฉบับสมบูรณ์ |
รูปภาพประกอบ: | |
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ: | 3 |