AIHD: Sustainable Development Goals (SDGs)


ชื่องานวิจัย: นโยบายสิ่งเสพติด การตอบสนองทางกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายในระบบยุติธรรม: การเปรียบเทียบข้ามชาติระหว่างประเทศไทยกับญี่ปุ่น ปีที่ 1
คณะ/สาขาวิชา: สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มาและความสำคัญ: กระบวนการยุติธรรมของไทยเริ่มต้นเมื่่อเริ่มมีการกระทำผิดเกิดขึ้น ตำรวจในฐานะพนักงานฝ่ายปกครอง มีหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐานและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคดีแล้วส่งต่อไปยังอัยการเจ้าของคดี ซึ่งจะพิจารณาวาคดีนั้นๆ มีพยานหลักฐานเพียงพอว่าบุคคลนั้นน่าจะเป็นผู้กระทำผิดจริงหรือไม่ โดยอัยการสามารถชะลอฟ้องผู้กระทำผิดคดียาเสพติดได้เป็นไปตามหลักการที่ว่า “ผู้เสพคือผู้ป่วย” โดยผู้ป่วยเหล่านี้จะเข้าสู่กระบวนการบังคับบำบัด ซึ่งหากการบังคับบำบัดผ่านพ้นไปด้วยดี ผู้เสพยาเสพติดจะถูกลบประวัติอาชญากรรมออกจากฐานระบบเพื่อเปิดโอกาส ให้สามารถกลับคืนสู่สังคมได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ เงื่่อนไขและหลักการเป็นไปตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 หากอัยการสั่งฟ้องคดี ภายหลังการพิจารณาคดีได้สิ้นสุดลงศาลจะสั่งลงโทษจำเลย โดยอาจมีเหตุเพิ่มโทษหรือเหตุลดโทษขึ้นอยูกับปัจจัยแวดล้อม อาทิ ประวัติภูมิหลังของผู้กระทำผิดหรือพฤตินิสัย ซึ่งสามารถนำมาใช้ประกอบการพิจารณาได้ ทั้งนี้ศาลมักใช้ข้อมูลการสืบเสาะและพินิจจากพนักงานคุมประพฤติ ประกอบการพิจารณา หากศาลมีคำพิพากษาให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษทางอาญาโดยวิธีการจำคุก หากผู้กระทำผิดเป็นผู้ใหญ่หน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมราชทัณฑ์ หากผู้กระทำผิดเป็นเด็กหรือเยาวชนที่ศาลเห็นว่าควรได้รับการแก้ไขโดยมาตรการแบบควบคุมตัว เด็กและเยาวชนเหล่านั้นจะอยู่ในความดูแลของกรมคุ้มครองและพินิจเด็กและเยาวชน กล่าวได้ว่า กรมราชทัณฑ์คือคุกสาหรับผู้ใหญ่ กรมคุ้มครองและพินิจเด็กและเยาวชนคือคุกสาหรับเด็กและเยาวชน ประเทศไทย เป็นประเทศที่่มีจำนวนเด็กและเยาวชนกระทำผิดมากที่สุดในประชาคมอาเซียน แต่ประเทศไทยมีการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนที่่เน้นในกระบวนการแก้ไขฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดแต่เพียงประการเดียว โดยมาตรการในการป้องปรามการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดเพื่่อให้เกิดความเกรงกลัวต่อโทษที่จะไดรับจากพฤติกรรมในการกระทำผิดยังเห็นผลได้น้อย
ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการเปรียบเทียบข้ามชาติ (Cross-nation Comparative drug Policy Analysis : CPA) ที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย กฎหมาย และมาตราการการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในระบบยุติธรรมของประเทศไทย-ญี่ปุ่น โดยเน้นวิธีการศึกษาเชิงเอกสารและคุณภาพ โดยใช้หลายวิธีการร่วมกัน ศึกษาทั้งแบบย้อนหลังและไปข้างหน้า (Retrospective and Prospective) เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศในประเทศไทย-ญี่ปุ่น รวมทั้งกลไกในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติในระบบยุติธรรม นอกจากนี้การวิจัยจะยึดหลักการวิเคราะห์แบบ triangulation analysis เพื่อลดความลำเอียงและให้ได้ข้อสรุปที่ถูกต้องที่สุด
วัตถุประสงค์:
1. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสถานการณ์ยาเสพติด ผู้ต้องราชทัณฑ์คดี พ.ร.บ.ยาเสพติด การกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น
2. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบนโยบายและการตอบสนองต่อการป้องกันและการแก้ไขปัญหายาเสพติด มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด การบังคับใช้กฎหมายและมาตรการอื่นๆ ของประเทศไทยและญี่ปุ่น
3. เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการป้องกันและการแก้ไขปัญหายาเสพติด รวมทั้งกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย
แหล่งทุนสนับสนุน: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
หน่วยงานที่ร่วมมือ: Ryukoku University Law School, and AP-RCC-ICUDDR
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรมคุมประพฤติ กรมราชทัณฑ์ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม
ระดับความร่วมมือ: ระดับประเทศ
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ (ระบุวันที่มีการนำไปใช้): 1. ได้องค์ความรู้ในด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศในประเทศไทย-ญี่ปุ่น รวมทั้งกลไกในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติในระบบยุติธรรม ซึ่งจะได้นำการปฏิบัติที่ดีมาปรับนโยบาย
2. เป็นการพัฒนาเครือข่ายการทำงานวิชาการด้านวิทยาการเสพติดในระบบมหาวิทยาลัยของแต่ละประเทศในประเทศไทย-ญี่ปุ่น
3. ได้แนวคิด รูปแบบ และการปฎิบัติด้านการบำบัด ฟื้นฟูสภาพของผู้ติดสิ่งเสพติดในระบบยุติธรรมของประเทศในประเทศไทย-ญี่ปุ่น
4. ได้มาตรการในการลดอัตราการจับกุมยาเสพติดเด็กและเยาวชน และลดปริมาณผู้ต้องขังเกี่ยวกับคดียาเสพติดในเรือนจำของหน่วยงานในระบบยุติธรรมของประเทศไทย-ญี่ปุ่น และการปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมาย
Web link อ้างอิงผลลัพธ์หรือการดำเนินงาน: บทคัดย่อรายงานการวิจัย
รูปภาพประกอบ:
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ: 3