ชื่องานวิจัย: | การพัฒนาชุมชนที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงวัยเพื่อส่งเสริมพฤฒิพลังของผู้สูงวัยอย่างเหมาะสมและยั่งยืน : ระยะที่ 1 การพัฒนาตัวชี้วัดของชุมชนที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงวัย |
คณะ/สาขาวิชา: | สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดนครปฐม |
ที่มาและความสำคัญ: | ประเทศไทยมีความพร้อมและเตรียมการที่จะพัฒนาชุมชนเพื่อรองรับสังคมสูงวัย โดยมีโครงการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรหรือชุมชนที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงวัย ซึ่งในขณะนี้ได้มีการดําเนินงานแล้ว 48 แห่งทั่วประเทศ การพัฒนาสิ่งแวดล้อมหรือชุมชนที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงวัยให้เกิดประสิทธิภาพ จําเป็นต้องมีตัวชี้วัดความเป็นชุมชน/สิ่งแวดล้อมที่เอื้ออาทรที่มีทั้งความเที่ยงและความตรง อย่างไรก็ตามยังไม่พบเครื่องมือวัดชุมชนที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงวัยในประเทศไทย |
ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา: | เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เริ่มจากทําการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อสร้างตัวชี้วัด โดยการใช้การ สนทนากลุ่มจากมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ เจ้าหน้าที่และผู้ดูแลผู้สูงอายุ ตลอดจนผู้สูงอายุที่มีบทบาทในชุมชน 14 กลุ่ม 138 ราย จากนั้นจะเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยนําแบบประเมินสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงวัยในบริบทไทยไปใช้สัมภาษณ์กับผู้สูงอายุ 4,350 ราย โดยมีพื้นที่ศึกษา 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครราชสีมา นครศรีธรรมราช เชียงใหม่ และชลบุรี |
วัตถุประสงค์: |
1. เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดของชุมชน/สิ่งแวดล้อมที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงวัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขตชนบท/เขตเมือง
2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวชี้วัดของชุมชนที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงวัยและพฤฒิพลังและคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัย |
แหล่งทุนสนับสนุน: | มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) |
หน่วยงานที่ร่วมมือ: |
1. สถาบันการศึกษา
2. องค์กรสาธารณสุข 3. องค์กรท้องถิ่น 4. องค์กรชุมชน 5.กลุ่มอาสาสมัคร ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครราชสีมา นครศรีธรรมราช เชียงใหม่ และชลบุรี |
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: |
1. กระทรวงสาธารณสุข
2.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 3. กระทรวงมหาดไทย 4. กรุงเทพมหานคร 5. ชุมชน 6. ผู้สูงอายุ |
ระดับความร่วมมือ: | ระดับประเทศ |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ (ระบุวันที่มีการนำไปใช้): |
1. ได้ข้อเสนอเชิงพัฒนาและข้อเสนอเชิงนโยบาย สำหรับการพัฒนารูปแบบและตัวชี้วัดในการจัดการชุมชนที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงวัยในระดับชุมชน/ตำบล
2. ได้พัฒนาความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายการทำงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคนในชุมชน องค์กรสาธารณสุข องค์ท้องถิ่น องค์กรชุมชน และองค์กรอื่นๆ ให้เกิดความตระหนักและเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมหรือชุมชนที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงวัยได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน 3. คนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผู้ดูแลผู้สูงวัย วัยก่อนสูงอายุ ครอบครัว เพื่อนบ้าน ผู้นำชุมชน และคนในชุมชน ได้รับความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมและพัฒนาพฤติกรรมการดูแลและส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงวัยอย่างถูกต้อง |
Web link อ้างอิงผลลัพธ์หรือการดำเนินงาน: |
Link: https://thaitgri.org/?wpdmpro=โครงการวิจัย
เอกสารแนบประกอบ: https://drive.google.com/file/d/1A46HCYXun7ra04kRjoz40be-7BYLoeDk/view?usp=sharing |
รูปภาพประกอบ: | |
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ: | 3 11 |