AIHD: Sustainable Development Goals (SDGs)


ชื่องานวิจัย: รูปแบบที่เหมาะสมเพื่อการจัดการขยะพลาสติกในจังหวัดที่ติดชายฝั่งทะเลอย่างบูรณาการทุกภาคส่วนและยั่งยืน: กรณีศึกษาจังหวัดตรัง
คณะ/สาขาวิชา: สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดนครปฐม
ที่มาและความสำคัญ: งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมเพื่อการจัดการขยะพลาสติกในจังหวัดที่ติดชายฝั่งทะเลอย่างบูรณาการทุกภาคส่วนและยั่งยืนกรณีศึกษาจังหวัดตรัง ประกอบด้วย การพัฒนากลไกการจัดการขยะพลาสติกอย่างเป็นระบบ การพัฒนาการคัดแยกขยะพลาสติกเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ การส่งเสริมการลดการใช้ถุงพลาสติกอย่างยั่งยืน การสร้างทัศนคติและส่งเสริมเครือข่ายการใช้ถุงพลาสติกอย่างรู้คุณค่า การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการหวงแหนคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยวจากการปลอดขยะพลาสติกกับนักท่องเที่ยว และการส่งเสริมกิจการประมงและการขนส่งทางเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและลดการใช้พลาสติก
ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา: เก็บรวบรวมข้อมูลปริมาณ และสถานการณ์ในการจัดการขยะพลาสติก พฤติกรรมการลดการใช้พลาสติกของผู้อาศัย (408 ราย) และนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ (521 ราย) ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลของจังหวัดตรัง และการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ของพื้นที่ชายฝั่งทะเลในการจัดการขยะพลาสติกด้วยหลักการ swot matrix กับกลุ่ม อปท. 22 หน่วยงาน จากนั้นจึงนำข้อมูลมาจัดลำดับความสำคัญและความเป็นไปได้ในการดำเนินงานของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นด้วยหลักการการสัมภาษณ์เชิงลึกแล้วจึงนำมาพัฒนาเป็นรูปแบบเพื่อถ่ายทอดผลการศึกษาและขอข้อเสนอแนะในการการปรับปรุงรูปแบบที่พัฒนาขึ้นให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง บูรณาการทุกภาคส่วนและยั่งยืนสำหรับจังหวัดตรัง
วัตถุประสงค์: งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมเพื่อการจัดการขยะพลาสติกในจังหวัดที่ติดชายฝั่งทะเลอย่างบูรณาการทุกภาคส่วนและยั่งยืนกรณีศึกษาจังหวัดตรัง
แหล่งทุนสนับสนุน: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
หน่วยงานที่ร่วมมือ: 1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของจังหวัดตรัง
2. หน่วยงานภาครัฐ
3. เอกชน
4. ชุุมชน
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: 1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. หน่วยงานภาครัฐ/เอกชน
3. ครัวเรือน
4. ร้านค้า
5. โรงแรม
6. ชุมชน
7. ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่
8. นักท่องเที่ยว
ระดับความร่วมมือ: ระดับท้องถิ่น
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ (ระบุวันที่มีการนำไปใช้): นำผลที่ได้กำหนดเป็นร่างรูปแบบ และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับทุกภาคส่วนของจังหวัดตรังในการจัดการขยะพลาสติกพบว่า รูปแบบที่เหมาะสมเพื่อการจัดการขยะพลาสติกในที่ติดชายฝั่งทะเลของจังหวัดตรัง ประกอบด้วย การพัฒนากลไกการจัดการขยะพลาสติกอย่างเป็นระบบ การพัฒนาการคัดแยกขยะพลาสติกเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ การส่งเสริมการลดการใช้ถุงพลาสติกอย่างยั่งยืน การสร้างทัศนคติและส่งเสริมเครือข่ายการใช้ถุงพลาสติกอย่างรู้คุณค่า การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการหวงแหนคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยวจากการปลอดขยะพลาสติกกับนักท่องเที่ยว และการส่งเสริมกิจการประมงและการขนส่งทางเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและลดการใช้พลาสติก
Web link อ้างอิงผลลัพธ์หรือการดำเนินงาน: Link: http://www.thai-explore.net/search_detail/result/9594
เอกสารแนบประกอบ: https://drive.google.com/file/d/1WefLQq1vQ7Fe0jhuVvePIIVFS8dSC31I/view?usp=sharing
รูปภาพประกอบ:
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ: 3 6 12 14