AIHD: Sustainable Development Goals (SDGs)


ชื่องานวิจัย: โครงการติดตามและประเมินผลโครงการพัฒนากลไกและสนับสนุนความเพียงพอของการได้รับบริการโรคที่เป็นปัญหาสำคัญ (ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่เข้ารับบริการคลินิกไตวายเรื้อรัง)
คณะ/สาขาวิชา: สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดนครปฐม
ที่มาและความสำคัญ: การชะลอโรคไตเสื่อมระยะที่ 1–2 จะเป็นความหวังในการช่วยลดค่าใช้จ่ายของผู้รับบริการสุขภาพและระบบบริการทดแทนไตที่ใช้งบประมาณนับหมื่นล้านบาทในแต่ละปี ซึ่งความสำเร็จและความยั่งยืนของการดำเนินงานต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งในและนอกภาคสาธารณสุข ด้วยเหตุนี้ กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับโรงพยาบาลโรคไตภูมิราชนครินทร์จึงให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการพัฒนากลไกและสนับสนุนความเพียงพอของการได้รับบริการโรคที่เป็นปัญหาสำคัญ (ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่เข้ารับบริการคลินิกไตวายเรื้อรัง) ผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ของอำเภอนำร่องใน 4 จังหวัด ซึ่งมีความพร้อมในการให้บริการแบบบูรณาการทั้งในและนอกภาคสาธารณสุข
ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา: การติดตามและประเมินผลการดำเนินการใน 4 พื้นที่นำร่อง ประกอบด้วย อำเภอปัว จังหวัดน่าน อำเภอทรายทองวัฒนา จังหวัดกำแพงเพชร อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา และอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ใช้วิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นหลัก ด้วยกระบวนการสนทนากลุ่ม พชอ. ทีมสหสาขาวิชาชีพ องค์กรชุมชน และผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีโรคไตระยะที่ 1–2 รวมทั้งได้ข้อมูลเชิงปริมาณจากพื้นที่ที่ดำเนินการยาวนานที่สุด โดยได้ข้อมูลที่สมบูรณ์เป็นค่า eGFR ของผู้ป่วย 41 ราย
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินระบบการบริหารจัดการของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ กระบวนการให้บริการสุขภาพและการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ป่วยเป็นโรคไตระยะที่ 1–2 ในระดับชุมชน อันนำไปสู่การสังเคราะห์รูปแบบที่ดีของการป้องกันและควบคุมโรคไตในระยะที่ 1–2 ในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
แหล่งทุนสนับสนุน: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
หน่วยงานที่ร่วมมือ: 1. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
2. สาธารณสุขอำเภอ
3. โรงพยาบาล
4. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่เป้าหมาย
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: 1. กระทรวงมหาดไทย 2. กระทรวงสาธารณสุข 3. โรงพยาบาลโรคไตภูมิราชนครินทร์ 4. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (ระดับชาติ/ระดับจังหวัด/ระดับอำเภอ) 5. องค์กรท้องถิ่น 6. องค์กรชุมชน 7. อาสาสมัคร 8. ผู้ป่วย 9. ชุมชน
ระดับความร่วมมือ: ระดับประเทศ
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ (ระบุวันที่มีการนำไปใช้): สามารถสังเคราะห์รูปแบบที่ดีของการป้องกันและควบคุมโรคไตในระยะที่ 1–2 ในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 2 รูปแบบ คือ การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไตในระยะที่ 1–2 โดยเจ้าภาพนอกภาคสาธารณสุข หรือโดยเจ้าภาพภาคสาธารณสุข
Web link อ้างอิงผลลัพธ์หรือการดำเนินงาน: เอกสารแนบประกอบ: https://drive.google.com/file/d/1FV1H7V95nx5fAJdRSIM2qukYYZPoYOS8/view?usp=sharing
รูปภาพประกอบ:
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ: 3