AIHD: Sustainable Development Goals (SDGs)


ชื่องานวิจัย: การสำรวจสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงวัยเพื่อส่งเสริมพฤฒิพลังและคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัย กรณีศึกษาประเทศญี่ปุ่น มาเลเซีย เมียนมา เวียดนาม และไทย
คณะ/สาขาวิชา: สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มาและความสำคัญ: สถานการณ์การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรผู้สูงอายุ ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศบวกสาม (จีน, เกาหลี, ญี่ปุ่น) มีการเตรียมการทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ เพื่อรับมือกับสภาวะของการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่การเป็น “สังคมผู้สูงอายุ” การสร้างสิ่งแวดล้อมหรือชุมชนที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงวัยเป็นหนึ่งในการเตรียมพร้อมเพื่อเข้าสู่การสูงวัยอย่างมีคุณภาพ โดยเน้นการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีอายุยืนยาว และมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถเข้าถึงบริการทางสังคม และบริการทางสุขภาพที่มีคุณภาพ อย่างทั่วถึง แม้ว่าประเด็นในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงวัยเป็นประเด็นที่ประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศบวกสาม (จีน, เกาหลี, ญี่ปุ่น) มีการตื่นตัวและเตรียมการทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติมาอย่างยาวนาน อย่างไรก็ตามงานวิจัยที่เป็นการเปรียบเทียบและศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงวัยในกลุ่มประเทศอาเซียนยังมีอยู่อย่างจำกัด การวิจัยในครั้งนี้จึงเป็นการวิจัยนำร่องที่ทำการศึกษาแบบบูรณาการว่าสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงวัยทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคมมีผลต่อพฤฒพลังและคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยในกลุ่มประเทศสมาชิกจริงหรือไม่ โดยตัวแปรต้นในการวิจัย คือ สิ่งแวดล้อมที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงวัย (Age friendly environment) และมีตัวแปรผลลัพธ์คือ พฤฒพลัง (Active aging) และคุณภาพชีวิต (Quality of life)
ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา: ประเทศที่เลือกมาศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น มาเลเซีย เมียนมา เวียดนาม และไทย พื้นที่ศึกษา คือ เขตเมืองที่เป็นเมืองหลวง ที่มีความเจริญรุดหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี แต่อาจมีความชะลอตัวด้านสังคม จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด คือ กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ที่สามารถพึ่งพาตัวเองในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ (Active ageing) จำนวน 2,171 คน โดยทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างแบบ Multi-stage cluster sampling
วัตถุประสงค์: 1. เพื่อสำรวจสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงวัยในเขตเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น มาเลเซีย เมียนมาเวียดนาม และไทย
2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงวัยและพฤฒพลังและคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยในเขตเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น มาเลเซีย เมียนมา เวียดนาม และไทย
แหล่งทุนสนับสนุน: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
หน่วยงานที่ร่วมมือ: 1. Juntendo University, Tokyo, Japan
2. National Cancer Society of Malaysia
3. Community Partners International (CPI), Yangon Region, Myanmar
4. Institute for Preventive Medicine and Public Health, Hanoi Medical University, Viet Nam
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: 1. หน่วยงานภาครัฐ/ภาคเอกชน
2. องค์กรท้องถิ่น
3. สถานบริการสุขภาพ
4. องค์กรชุมชน
5. ผู้สูงอายุ
6. คนในชุมชน
ระดับความร่วมมือ: ระดับนานาชาติ
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ (ระบุวันที่มีการนำไปใช้): 1. องค์ความรู้จากผลงานวิจัยจะถูกนำไปเผยแพร่และตีพิมพ์ในรูปแบบต่างๆ เช่น ผลงานตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ระดับชาติ นอกจากนี้ ผลจากงานวิจัยจะนำไปสู่การพัฒนาฐานข้อมูลด้านผู้สูงอายุในภาพรวมของภูมิภาค จากการวิจัยในครั้งนี้ประเทศไทยจะสามารถมีบทบาทสำคัญในเรื่องการพัฒนาฐานข้อมูลผู้สูงอายุ และการถ่ายทอดความรู้แก่ประเทศสมาชิก
2. การได้เรียนรู้ประสบการณ์ ข้อดีข้อด้อยจากประเทศสมาชิกและกลุ่มประเทศบวกสาม และ ข้อค้นพบในส่วนของปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมตามบริบทของตนเอง จะเป็นประโยชน์ต่อผู้กำหนดนโยบายในการนำมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างและพัฒนาสิ่งแวดล้อมหรือกิจกรรมการส่งเสริมพฤฒิพลังและคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุไทยอย่างเหมาะสมและเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ผลจากงานวิจัยสามารถนำไปต่อยอดในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้กับผู้ที่ทำหน้าที่กำหนดหรือผลักดันนโยบายของประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาในเรื่องของผู้สูงอายุของแต่ละประเทศตามบริบท และการพัฒนาสามารถขยายวงกว้างในระดับภูมิภาคประชาคมอาเซียน เพราะจากการประชุม 3rd ASEAN-Japan Active Aging Conference ในปี 2017, July ที่จัดโดย Asian Development Bank และ Regional meeting on ageing and health (June 2017) ที่จัดโดย WHO ประเทศสมาชิกยังต้องการทบทวนการดำเนินการตามกรอบการดำเนินงานด้านภูมิภาคสำหรับผู้สูงอายุ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสียในกลุ่มประเทศสมาชิกในการแลกเปลี่ยนข่าวสารและการทำงานในเรื่องของผู้สูงอายุ เพื่อนำไปสู่การประกาศกฎหมาย หรือกำหนดมาตรการ กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เอื้อต่อสังคมผู้สูงอายุ
3. ผลการวิจัยสามารถนำไปสู่การค้นหานวัตกรรมที่จะทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งสามารถนำไปสร้างโอกาสทางธุรกิจด้านผู้สูงอายุในทุกมิติทั้งภาครัฐบาลและเอกชน เช่น การขยายความร่วมมือไปที่ กระทรวงคมนาคม กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข และภาคเอกชน เพื่อที่จะพัฒนาคุณภาพของสถานที่และการให้บริการดูแลผู้สูงอายุ ในโรงพยาบาล, nursing home, day care center พัฒนาคุณภาพของอาคารสถานที่ ที่อยู่สำหรับผู้สูงวัย ระบบขนส่ง เทคโนโลยีเพื่อผู้สูงวัย ตลอดจน การจัดหลักสูตรที่เหมาะสมในการดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจร เป็นต้น
4. การวิจัยครั้งนี้จะสามารถพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านงานวิจัยในเรื่องผู้สูงอายุในภูมิภาคอาเซียน
Web link อ้างอิงผลลัพธ์หรือการดำเนินงาน: เอกสารแนบประกอบ: https://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=RDG6110036
เอกสารแนบประกอบ: https://drive.google.com/file/d/1n0QTHco1wcrhNtYnGatPCdwVJBPpsB6V/view?usp=sharing
รูปภาพประกอบ:
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ: 3 11 17