กำหนดการหลักสูตร
กําหนดการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้านสาธารณสุข (นบส.ส)รุ่นที่ 39
กําหนดการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้านสาธารณสุข (นบส.ส)รุ่นที่ 39
จดหมายเชิญอบรม ดาวน์โหลดที่นี่
คุณสมบัติของผู้อบรม สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปในด้านการแพทย์ พยาบาล สาธารณสุขหรือที่เกี่ยวข้อง มีประสบการณ์การปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขหรือที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 2 ปี การรับสมัคร ดาวน์โหลดใบสมัคร
ศ.กิติคุณ นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.เกียรติคุณ ดร. นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรค์ นายกสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย นพ.วิวัฒน์ โรจนพิทยากร อดีตเลขาธิการ ASEAN University Network – Health Promotion นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านเวชกรรมป้องกัน สาขาระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. นพ.อำนวย กาจีนะ นายกสมาคมนักบริหารโรงพยาบาลประเทศไทย รศ. ดร. นพ. ชัยเลิศ พิชิตพรชัย ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล รศ. นพ. เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข นพ.พิเชฐ บัญญัติ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พญ.ปิยวรรณ …
รายละเอียดหลักสูตร ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องเข้ารับการปฐมนิเทศ รับฟังการบรรยายสรุปและทำกิจกรรมกลุ่ม ณ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ไปศึกษาดูงาน ณ สถานที่ที่กลุ่มสนใจ ทำรายงานเดี่ยวและโครงงานกลุ่มส่งตามกำหนด โดยผู้รับการอบรมจะได้รับเอกสารหรือสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง วันสุดท้ายของหลักสูตรผู้เข้ารับการอบรมนำเสนอโครงงานกลุ่ม โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิมาให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้สามารถนำโครงการกลุ่มไปใช้ได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อผู้เข้ารับการอบรมผ่านเกณฑ์ตามกำหนดในทุกกิจกรรมแล้วจึงจะได้รับวุฒิบัตร วัตถุประสงค์ของหลักสูตร หลักสูตรนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีคุณสมบัติดังนี้ เป็นผู้นำในการบริหารจัดการงานสาธารณสุขยุคใหม่ สามารถคิดวิเคราะห์ วางแผน กำกับ ติดตาม โครงการหรืองานด้านสาธารณสุข มีทักษะในการบริหารงานสาธารณสุขระดับสูง ระยะเวลาการศึกษา เป็นหลักสูตรที่เน้นการศึกษาด้วยตัวเอง (Self-Study Program) ระยะเวลา 4-6 เดือน ลักษณะของการเรียนการสอน บรรยายสรุป อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ แบ่งกลุ่มย่อยทำแบบฝึกหัดในชั้นเรียน มอบหมายงานเดี่ยว มอบหมายโครงงานกลุ่ม ศึกษาดูงาน สอบรวบยอด
คณะกรรมการโครงการ หลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้านสาธารณสุข นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ ที่ปรึกษาหลักสูตร กรรมการและเลขานุการ นางสาวมนฤดี วงศ์แก้ว นางสาวชัชชฎา เรืองขจร กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ นางสาวจารุวรรณ ฉัตรแก้ว ผู้ช่วยเลขานุการ
ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค คู่มือแนวทางการบันทึกโปรแกรมบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ คู่มือโปรแกรมผู้สูงอายุและบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิง (LCT) กลยุทธ์การบริหารจัดการกองทุนฯ เพื่อความสาเร็จ
ลำดับที่ ชื่อ-นามสกุล จังหวัด 1 นาย ศุภกร อารมณ์ สงขลา 2 นาย วันชัย เรืองขจร กาญจนบุรี 3 นาย สิทธิพร สินสอาด กาญจนบุรี 4 นาย สมบัติ ชำกุล ขอนแก่น 5 นาย หัสดิน เหมมุดิง ลพบุรี 6 นาย สมาน ศิลาแดง สกลนคร 7 นาง ฉัตรไพพรรณ พุฒทอง กาฬสินธุ์ 8 ว่าที่ร้อยโท วรากร ก้องเกรียงไกร กำแพงเพชร
หลักการของหลักสูตร สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้พัฒนาหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ตามที่ได้มีการทำข้อตกลงร่วมกัน เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2562 โดยกำหนดเปิดหลักสูตรการอบรมรุ่นแรกระหว่าง วันที่ 20-23 กุมภาพันธ์ 2563 โดยมุ่งที่จะพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีการดำเนินงานด้านสาธารณสุข ภายใต้งบประมาณจากกองทุนหลักประกันในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กปท.) รวมทั้ง งบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง ซึ่งผู้เข้าร่วมการอบรมประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารกองสาธารณสุข ผู้บริหารกองคลัง บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการ กปท. รวมทั้ง นักวิชาการและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่สนใจในการพัฒนาท้องถิ่น ให้มีภาวะผู้นำและมีทักษะในการบริหารงานสาธารณสุขในท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารได้อย่างมั่นใจและมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร หลักสูตรนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีคุณสมบัติ ดังนี้ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่สามารถ คิด วิเคราะห์ วางแผน กำกับ ติดตามโครงการหรืองานด้านสาธารณสุขที่ดำเนินการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มีทักษะในการสร้างการมีส่วนร่วม การสร้างทีมทำงานและเครือข่ายการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม เป็นผู้บริหาร หรือบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการ กปท. นักวิชาการ …