Intranet
|
Thai
|
Eng
แนะนำสถาบันฯ
สารจากผู้อำนวยการ
ประวัติและความเป็นมา
วิสัยทัศน์, พันธกิจ และ ยุทธศาสตร์
รางวัลเกียรติยศ
ผู้บริหาร
คณะผู้บริหารสถาบันฯ
คณะกรรมการประจำสถาบันฯ
ศาสตราจารย์วุฒิคุณ
คณาจารย์/บุคลากร
คณาจารย์
บุคลากรสายสนับสนุน
สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องประชุม
หอพักอาเซียนเฮ้าส์
ห้องสมุด
การศึกษา
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน (หลักสูตรนานาชาติ)
การจัดการสาธารณสุขมูลฐานมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)
Master of Primary Health Care Management— Special Track on Social Health Protection
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการเสพติด (ภาคพิเศษ)
เครื่องมือสนับสนุนทางด้านวิชาการ
สำหรับคณาจารย์/บุคลากร
สำหรับนักศึกษาปัจจุบัน
วิทยานิพนธ์
แบบฟอร์มนักศึกษาต่างๆ
งานวิจัย
ภาพรวมงานวิจัย
โครงการ
ผลงานตีพิมพ์
วารสาร
About the Journal
Archives
Current Issue
Editorial Team
Submissions
Peer Review Process
Publication Ethics and Plagiarism Policy
Contact
Handbook for Authors
งานบริการวิชาการ
ภาพรวมงานบริการวิชาการ
หลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้านสาธารณสุข
พัฒนาสมรรถนะผู้นำ กปท
หลักสูตรเวชศาสตร์วิถีชีวิต
หลักสูตร Wellness & Healthcare Business Opportunity for Executives
หลักสูตรอบรมระดับนานาชาติ
Public Speaking
การขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพ
AUN-HPN
CONNECT
MUGH
เครือข่าย
บันทึกความเข้าใจ (MOU)
ศิษย์เก่า
MPHM
MAAS
สื่อเผยแพร่
AIHD Insights
รายงานประจำปี
หลักสูตรพัฒนาสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ด้านการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
รายละเอียดหลักสูตร
หลักการของหลักสูตร
สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้พัฒนาหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ตามที่ได้มีการทำข้อตกลงร่วมกัน เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2562 โดยกำหนดเปิดหลักสูตรการอบรมรุ่นแรกระหว่าง วันที่ 20-23 กุมภาพันธ์ 2563 โดยมุ่งที่จะพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีการดำเนินงานด้านสาธารณสุข ภายใต้งบประมาณจากกองทุนหลักประกันในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กปท.) รวมทั้ง งบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง ซึ่งผู้เข้าร่วมการอบรมประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารกองสาธารณสุข ผู้บริหารกองคลัง บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการ กปท. รวมทั้ง นักวิชาการและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่สนใจในการพัฒนาท้องถิ่น ให้มีภาวะผู้นำและมีทักษะในการบริหารงานสาธารณสุขในท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารได้อย่างมั่นใจและมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หลักสูตรนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีคุณสมบัติ ดังนี้
เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่สามารถ คิด วิเคราะห์ วางแผน กำกับ ติดตามโครงการหรืองานด้านสาธารณสุขที่ดำเนินการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
มีทักษะในการสร้างการมีส่วนร่วม การสร้างทีมทำงานและเครือข่ายการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
เป็นผู้บริหาร หรือบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการ กปท. นักวิชาการ บุคคลที่เกี่ยวข้องที่สนใจในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
ลักษณะของหลักสูตรและระยะเวลาการศึกษา
เป็นหลักสูตรการเรียนรู้ จากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้มีประสบการณ์ตรงด้านการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพและงานบริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ระยะเวลา 1-3 วัน รวมทั้ง ให้มีการศึกษาเพิ่มเติมต่อเนื่องด้วยตนเอง ฝึกทักษะการเรียนรู้จากประสบการณ์ทำงานด้วยตนเอง (Self Study) ในระยะเวลา 3 เดือนหลังเข้ารับการอบรม
โครงสร้างของหลักสูตร
เนื้อหาวิชาแบ่งเป็น 4 หมวดรายวิชา (Module) ได้แก่
ความเข้าใจพื้นฐานเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
ความเป็นมาของหลักประกันสุขภาพในประเทศไทย
แนวคิดในการจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กปท.)
หลักการ และเจตนารมณ์ของกองทุน กปท.
การพัฒนาสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการสร้างมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
ทักษะที่จำเป็นสำหรับนักบริหารการพัฒนา
ความสำคัญและหลักการมีส่วนร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
แนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
ประกาศ ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่ใช้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 และเพิ่มเติม พ.ศ. 2562 ภายใต้ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545
กฎหมายเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้อง กับการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
การวิเคราะห์ เชื่อมโยง และทำความเข้าใจ เจตนารมณ์ของประกาศ ระเบียบและหลักเกณฑ์ที่ใช้ดำเนินงานบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
แนวทางและวิธีปฏิบัติงาน กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
ขั้นตอน และวิธีการ ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
แนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการ/อนุกรรมการ
แนวทางการจัดทำแผนการเงินกองทุนฯ
แนวทางการจัดทำแผนสุขภาพชุมชน
แนวทางการพิจารณา/เสนอ โครงการ
แนวทางการบริหารและพัฒนากองทุนฯ ให้มีประสิทธิภาพ
การใช้งานโปรแกรม กปท. เพื่อจัดทำระบบบัญชี
การใช้งานโปรแกรม LTC
แนวทางการกำกับติดตามและประเมินผล
วิธีการจัดการเรียนการสอน
จัดฝึกอบรมเป็นเวลา 3 วัน ในลักษณะ Combination ให้ตรงกับความจำเป็นของผู้เข้าร่วมการอบรม ตามบทบาทหน้าที่ในการทำงานหรือบริหารจัดการกองทุน กปท. ได้แก่
หลักสูตรสำหรับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (นายกและปลัด) ระยะเวลา 1 วัน ( 1 วันแรกของการอบรม โดย มีสิทธิได้รับเกียรติบัตรตามหลักสูตรที่เข้าร่วม)
หลักสูตรสำหรับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระยะเวลา 3 วัน( ตลอดหลักสูตร)
รูปแบบกิจกรรม
จัดฝึกอบรมเป็นเวลา 3 วัน ในลักษณะ Combination ให้ตรงกับความจำเป็นของผู้เข้าร่วมการอบรม ตามบทบาทหน้าที่ในการทำงานหรือบริหารจัดการกองทุน กปท. ได้แก่
อภิปราย แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็น ร่วมกับ ผู้มีประสบการณ์ตรง
แบ่งกลุ่มย่อย มอบหมายงานกลุ่ม ทำแบบฝึกหัด (Problem-based learning)
วิเคราะห์ แลกเปลี่ยนและบรรยายสรุป โดย วิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิ
ประเมินวัดผลการเรียนรู้รวบยอด
มอบหมายงาน ต่อยอดการทำงานในพื้นจริง ผ่านเวทีแลกเปลี่ยนในระบบ Social network
ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องเข้ารับการปฐมนิเทศ รับฟังการบรรยายและทำกิจกรรมตามที่กำหนด โดยผู้รับการอบรมจะได้รับเอกสารหรือสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง วันสุดท้ายของหลักสูตร ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับมอบหมายให้นำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง เมื่อผู้เข้ารับการอบรมมีการส่งแบบประเมิน และนำเสนอผลการดำเนินงานแลกเปลี่ยนตามเกณฑ์ตามกำหนดแล้ว จึงจะได้รับเกียรติบัตร
วันที่จัดอบรม
หลักสูตรสำหรับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (นายกและปลัด)
รุ่นที่ 1 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563
รุ่นที่ 2 วันที่ 31 กรกฎาคม 2563
รุ่นที่ 3 วันที่ 17 ธันวาคม 2563
หลักสูตรสำหรับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รุ่นที่ 1 วันที่ 20-23 กุมภาพันธ์ 2563
รุ่นที่ 2 วันที่ 30 กรกฎาคม– 2 สิงหาคม 2563
รุ่นที่ 3 วันที่ 16-19 ธันวาคม 2563
การประเมินผล
การประเมินผลระหว่างการอบรม
การมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ และสามารถเข้ารับอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
แบบสอบถามประเมินความรู้ ความเข้าใจที่เปลี่ยนแปลงหลังการอบรมแต่ละครั้ง
การประเมินผลหลังการอบรม มีการติดตามการ นำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง ตามบทบาท หน้าที่ของผู้เข้ารับการอบรมในแต่ละพื้นที่ ในระยะเวลา 3 เดือนหลังเข้ารับการอบรม
สถานที่จัดฝึกอบรม
สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ต. ศาลายา อ. พุทธมณฑล จ.นครปฐม จำนวนที่เปิดรับ รุ่นละ 50-70 คน แบ่งเป็น
หลักสูตรสำหรับผู้ บริหารอปท. ได้แก่ นายกอปท./ปลัด.อปท. จำนวน 20 คน
หลักสูตร สำหรับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติการ อปท. บุคลากรท้องถิ่น นักวิชาการและผู้สนใจ ตาม คุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 50 คน
การประเมินผลหลังการอบรม มีการติดตามการ น าความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง ตามบทบาท หน้าที่ของผู้เข้ารับการอบรมในแต่ละพื้นที่ ในระยะเวลา 3 เดือนหลังเข้ารับการอบรม
ค่าลงทะเบียน
หลักสูตรสำหรับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (นายกและปลัด) ค่าลงทะเบียน คนละ 1,500 บาท
หลักสูตร สำหรับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ค่าลงทะเบียนคนละ 4,500 บาท(รวมค่าเอกสาร อาหารว่าง อาหารกลางวัน ตลอดการอบรม)
วิธีการชําระเงิน
โอนเงินค่าลงทะเบียนผ่าน Application บนมือถือ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)
ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยมหิดล เลขที่ 016-2-10322-3
ส่งสลิป ระบุชื่อผู้เข้ารับการอบรมและรุ่น ไปที่ คุณพิชญ์สินี เพียรอนุกูลบุตร
อีเมล์ aihdtr@gmail.com หรือ id line 081-3819484 หรือโทรสาร 02-441-9995
(รุ่นที่ 3: โอนเงินภายในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563)
หมายเหตุ ผู้เข้าร่วมอบรม ติดต่อสำรองห้องพักด้วยตนเอง ณ สถานที่พักตามที่มหาวิทยาลัยแนะนำ เช่น
The Time 24 ศาลายา เบอร์ติดต่อ 02 441 4290, 088 1942424
Tripple A Residence ศาลายา เบอร์ติดต่อ 086 3747588
The Loft Salaya เบอร์ติดต่อ 02 8002899, 082-5805005
หรือตามสะดวกโดยเบิกจ่ายค่าที่พัก ค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทางจากต้นสังกัด