ภาษาไทย English Intranet ITA

สำนักงานเลขาธิการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) จัดการอบรม HURS Workshop 2024 ภายใต้หัวข้อ “Improving Healthy University Implementation Based on Healthy University Rating System (HURS)”

8 กรกฎาคม 2567


วันที่ 8 กรกฎาคม 2567 มหาวิทยาลัยมหิดล โดย สำนักงานเลขาธิการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) จัดการอบรม HURS Workshop 2024 ภายใต้หัวข้อ “Improving Healthy University Implementation Based on Healthy University Rating System (HURS)” ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้แผนงานของสำนักงานเลขาธิการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) เพื่อการพัฒนาผู้ใช้ระบบการประเมินมหาวิทยาลัยสุขภาวะประจำปี 2567 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงจุฑามณี สุทธิสีสังข์ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล และเลขาธิการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) พร้อมด้วย ดร.ชลธิศ ธีระฐิติ ผู้อำนวยการบริหารสำนักงานเลขานุการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมฯ ซึ่งมี นายแพทย์วิวัฒน์ โรจนพิทยากร ที่ปรึกษาคณะกรรมการอำนวยการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) ผู้แทนจากสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN-HPN) และผู้แทนสถาบันทางการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องจามจุรี บอลรูม เอ (ชั้น M) โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ และผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ธันวดี สุขสาโรจน์ รักษาการแทนรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล และรองเลขาธิการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) ได้กล่าวแนะนำบทบาทของสำนักงานเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) ในการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมสุขภาพและความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในภูมิภาคอาเซียน (Introduction of AUN-HPN Secretariat and the role in promoting effective health promotion policies and practices in collaboration among ASEAN universities) จากนั้น ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และประธานคณะทำงานแกนนำในการพัฒนาระบบ HURS นำเสนอและอธิบายเกณฑ์ประเมิน Healthy University Rating Systems (HURS) Version 2024 ซึ่งมีการปรับปรุงข้อคำถามใหม่ เพื่อให้มหาวิทยาลัยที่สนใจเข้าร่วมรับการประเมินในระบบ HURS ในปีนี้ มีความเข้าใจในข้อคำถามภายใต้เกณฑ์ประเมิน HURS และระบบการส่งข้อมูลในระบบได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน ทั้งนี้ ยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถทดลองกรอกข้อมูลในระบบ (University Data Entry) และซักถามแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับระบบดังกล่าวด้วย นอกจากนี้ ยังมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “Learn and share best practices of the Top Stars Universities of HURS” ระหว่างผู้แทนมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมประชุม ร่วมกับ ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยที่มีผลคะแนน HURS ระดับดีเยี่ยม (5 Stars และ 5 Stars+) จากผลการประเมินปี 2566 จำนวน 6 มหาวิทยาลัย ได้แก่ Universiti Kebangsaan Malaysia ประเทศมาเลเซีย Universitas Indonesia สาธารณรัฐอินโดนีเซีย Universitas Gadjah Mada สาธารณรัฐอินโดนีเซีย De La Salle University สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี