สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization-ILO) จัดเสวนา “Achieving Social Justice through Inclusive Social Health Protection”
สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization-ILO) จัดเสวนา “Achieving Social Justice through Inclusive Social Health Protection”
6 กุมภาพันธ์ 2568
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization - ILO) จัดเสวนา "Achieving Social Justice through Inclusive Social Health Protection" เพื่อเฉลิมฉลอง "วันแห่งความยุติธรรมทางสังคม" (World Day of Social Justice) ซึ่งตรงกับวันที่ 20 กุมภาพันธ์ของทุกปี ภายในงาน ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ดร.ศักดินาถ สนธิศักดิ์โยธิน ผู้ช่วยปลัดกระทรวงแรงงาน และ Miss Kaori Nakamura-Osaka ผู้อำนวยการสำนักงาน ILO ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก กล่าวเปิดงาน ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ธันวดี สุขสาโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม พร้อมแนะนำ หลักสูตรการจัดการสาธารณสุขมูลฐานมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) ที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างระบบสาธารณสุข และสนับสนุนกลไกการคุ้มครองทางสังคมด้านสุขภาพให้ทั่วถึงและเป็นธรรม ไฮไลต์สำคัญของงาน ได้แก่ การบรรยายพิเศษ "Inclusion as a Cornerstone for Universal Social Health Protection" โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณฤดี อิสรานุวัฒน์ชัย นักวิจัยอาวุโสจากโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) และ เวทีแลกเปลี่ยนมุมมองระดับนานาชาติ ในหัวข้อ "Insights on Initiatives for Inclusive Social Health Protection" โดยผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรชั้นนำ ได้แก่ Prof. Phạm Tiến Nam, Hanoi University of Public Health (เวียดนาม) รศ. ดร. เสาวคนธ์ รัตนวิจิตราศิลป์ อดีตคณบดีคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ไทย) Miss Rashim Bedi, Self Employed Women's Association - SEWA (อินเดีย) Miss Emiko Nagasawa, Japan Business Federation - Keidanren (ญี่ปุ่น) Mr. Sreng Sophornreaksmey, Cambodia National Social Protection Council - NSPC (กัมพูชา) งานนี้จัดขึ้นที่ ห้องประชุมบุญศิริ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านช่องทางออนไลน์ โดยเปิดโอกาสให้คณาจารย์ นักวิชาการ บุคลากร และนักศึกษา ได้ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า และการสร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงระบบสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง Cr. Photo งานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล