ภาษาไทย English Intranet Webmail

สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน จัดประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ปรับปรุงหลักสูตรการจัดการสาธารณสุข มูลฐานมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)

23 กุมภาพันธ์ 2564


วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภูดิท เตชาติวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล จัดประชุมคณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตรการจัดการสาธารณสุขมูฐานมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) โดยมีนายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ประธานกรรมการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้เกียรติเป็นประธาน และกล่าวต้อนรับคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ นายแพทย์ภานุวัฒน์ ปานเกตุ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นายแพทย์จเด็จ ธรรมธัชอารี รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทันตแพทย์วีระศักดิ์ พุทธาศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ แพทย์หญิงขจีรัตน์ ปรักเอโก ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นายแพทย์สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ จังหวัดสงขลา ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นายแพทย์ถาวร สกุลพาณิชย์ ที่ปรึกษาระดับกระทรวง นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านควบคุมป้องกันโรค กระทรวงสาธารณสุข ดร.นายแพทย์ภูษิต ประคองสาย ที่ปรึกษาระดับกระทรวง นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านส่งเสริมสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ ที่ปรึกษาผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน พร้อมด้วยคณะกรรมการฯ และอาจารย์ประจำหลักสูตรของสถาบันฯ เข้าร่วมประชุมและรับฟังข้อคิดเห็นจากคณะกรรมการฯ ในการปรับปรุงหลักสูตรการจัดการสาธารณสุขมูฐานมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน และสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน และสามารถเปิดใช้ในปีการศึกษา 2565 ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ 2558 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดลว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563 จากการประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ ให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาหลักสูตร โดยเสนอให้ทำหลักสูตรที่เป็นอัตลักษณ์ของประเทศไทย เพื่อให้นานาชาติสามารถเรียนรู้ และนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมตามบริบทของประเทศ ปรับการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเรียนรู้จากประสบการณ์จริงในพื้นที่ (Best Practice in PHC) มากกว่าการสอนทฤษฎี และเน้นการเรียนแบบ case-base study นอกจากนี้ยังเสนอให้เชิญภาคีเครือข่ายความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา และออกแบบหลักสูตร ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน และขยายความร่วมมือไปยังศิษย์เก่าในภูมิภาคอาเซียนด้วย