ภาษาไทย English Intranet ITA

มหิดลสานต่องานภารกิจสุขภาพโลกมหิดล (MUGH)

12 มกราคม 2565


วันที่ 12 มกราคม 2565 มหาวิทยาลัยมหิดล สานต่อการดำเนินงานภารกิจสุขภาพโลกมหิดล (MUGH) และความร่วมมือทางวิชาการกับเครือข่ายในระดับพื้นที่ นำร่องพัฒนา Digital Health ในการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ของจังหวัดนครปฐม นำโดย ดร.พัฒนศักดิ์ มงคลวัฒน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย อาจารย์ผกาพร เพ็งศาสตร์ และอาจารย์ ดร.ศิริเพ็ญ พงษ์ไพเชฐ จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และรองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ภูดิท เตชาติวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ได้มอบหมายให้นาย กษิดิ์เดช ชัยวงศ์รุ่งเรือง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เข้าร่วมประชุมแทน โดยมีนายแพทย์นเรศ มณีเทศ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนครชัยศรี นายแพทย์ยุทธกรานต์ ชินโสต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่งานสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม และทีมให้บริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ของจังหวัดนครปฐม ผ่านระบบประชุมออนไลน์ Zoom Meeting
การประชุมต่อเนื่องเพื่อพัฒนา COVID-19 Monitoring Dashboard ครั้งนี้ อาจารย์ ดร.ศิริเพ็ญ พงษ์ไพเชฐ และทีมพัฒนาข้อมูลจากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีการรายงานและมีการแก้ไขความก้าวหน้าสำหรับ Data Dashboard ซึ่งที่ผ่านมาสามารถใช้งานได้ดี แต่สำหรับกลุ่มเด็กนักเรียนควรจะนำ Dashboard ลงไปรวมในกลุ่มของประชาชนทั่วไป และได้มีการนำเสนอ Dashboard ระยะที่ 1 ในระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล เพื่อแสดงข้อมูลเปรียบเทียบการฉีดวัคซีนทั้งภายในและภายนอกจังหวัดนครปฐม และสามารถทำการ export ข้อมูลออกมาได้ในรูปแบบของ Excel (เฉพาะเจ้าหน้าที่) โดยจะเป็นการแสดงผลรวมจากข้อมูลจำนวนผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วนำมาแสดงผลรวมให้อยู่ในรูปแบบของ chart board โดย Graph ที่ 1 จะแสดงถึงสัดส่วนจำนวนเต็มร้อยจากสัดส่วนทุกอำเภอ , Graph ที่ 2 แสดงผลข้อมูลไม่ได้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่จะแบ่ง 70% เป็นภายในจังหวัด และ 30% เป็นภายนอกจังหวัด, Graph ที่ 3 แสดงผลข้อมูลโดยนำกราฟทั้งภายในและภายนอกจังหวัดมาวางคู่กัน รวมถึงการแสดงกราฟเส้นเพื่อบ่งบอกถึงเปอร์เซ็นต์การฉีดวัคซีนในภาพรวมในแต่ละอำเภอ เป็นต้น ทั้งนี้ตามความคิดเห็นจากคณะอาจารย์ลงความเห็นว่าควรทำกราฟแสดงกลุ่มเป้าหมายและแสดงเปอร์เซ็นต์จำนวนผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนรวมเป็นกราฟเดียว นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอ Dashboard ระยะที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์ซึ่งสามารถให้ผู้รับผิดชอบในแต่ละระดับ ตรวจสอบข้อมูลการฉีดวัคซีนและดูข้อมูลของประชากรได้ตามสิทธิ์ที่ได้รับ เพื่อการดูแลและป้องกันเชิงรุก และสามารถ export ข้อมูลในรูปแบบ Excel (เฉพาะเจ้าหน้าที่ระดับสาธารณสุขอำเภอ) แสดงข้อมูลรายบุคคลต้องเป็นระดับสาธารณสุขจังหวัด เพิ่ม transaction log ว่าใครเข้ามาดูแลและดาวน์โหลดข้อมูลตอนไหน นอกจากนี้ยังมีขั้นตอนการสำเตรียมและนำเสนอข้อมูลดังนี้ 1. Data Pipeline เพื่อเตรียมข้อมูลการฉีดวัคซีนของกลุ่มเป้าหมายในจัดหวัด โดย export ข้อมูลการฉีดวัคซีนของจังหวัดจากฐานข้อมูลผ่านระบบ MophiC ออกมาในรูปแบบไฟล์ Zip แล้วทำการอัพโหลดผ่านระบบโดยเจ้าหน้าที่ จากนั้นระบบจะเตรียมข้อมูลของ NPT และประมวลผลไฟล์ล่าสุดที่อยู่ใน Sever ตามตารางเวลาที่กำหนดโดยอัตโนมัติ 2. เตรียมข้อมูลการฉีดวัคซีนของแต่ละสถานพยาบาลที่เป็นหน่วยฉีดในจังหวัด (In-progress) โดยการดึกข้อมูลจาก API Immunization List 3. Clean Data Cleansing ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่มีโรคประจำตัว ซึ่งได้รับข้อมูลแต่ว่าจำนวนรายการมีน้อยกว่าที่กำหนดไว้ในไฟล์กลุ่มเป้าหมายค่อนข้างมาก จึงยังไม่ได้การดำเนินการต่อ และรอให้ทางทีมนครปฐมเตรียมข้อมูลเพิ่มเติมในครั้งต่อไป
ทั้งนี้ การพัฒนาเครื่องมือเพื่อการประมวลผล และการสำรวจข้อมูลผู้รับบริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ของจังหวัดนครปฐม ดำเนินการภายใต้ความร่วมมือของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม ทีมให้บริการวัคซีนของจังหวัดนครปฐม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล โดยเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยมหิดลที่ให้ความสำคัญกับประเด็นสุขภาพโลก โดยการทำงานผ่านสำนักงานประสานงานภารกิจสุขภาพโลกมหิดล (MUGH) ซึ่งรับผิดชอบโดยสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล