สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเวทีรายงานผลการศึกษา “การวิจัยวิเคราะห์ระบบการดำเนินงานและความคาดหวังในการปฏิรูปบทบาทของ อสม./อสส.” และ “ถอดบทเรียนการทำงานของ อสม. ที่มีการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practices)”

27 มกราคม 2565


วันที่ 27 มกราคม 2565 - รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภูดิท เตชาติวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันฯ และหัวหน้าแผนงานวิจัย “การสังเคราะห์ทางเลือกและข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.ธันวดี สุขสาโรจน์ หัวหน้าโครงการย่อย 2 “การวิจัยวิเคราะห์ระบบการดำเนินงานและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญในการปฏิรูปบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรพินท์ เล่าซี้ หัวหน้าโครงการย่อย 3 “การวิจัยถอดบทเรียนของ อสม. ที่มีการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practices) เพื่อการปฏิรูปบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) มุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” จัดเวทีรายงานผลการศึกษา “การวิจัยวิเคราะห์ระบบการดำเนินงานและความคาดหวังในการปฏิรูปบทบาทของ อสม./อสส.” และ “ถอดบทเรียนการทำงานของ อสม. ที่มีการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practices)” ผ่านระบบ Zoom meeting โดยได้รับเกียรติจากทีมวิจัยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย ดร.นายแพทย์ภาณุวัฒน์ ปานเกตุ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ คุณชาติชาย สุวรรณนิตย์ นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญด้านพัฒนาสุขภาพภาคประชาชน คุณจรัส รัชกุล คุณจีรวรรณ หัสโรค์ คุณประสิทธิ์ พิริยะไพบูลย์ คุณชัชวาลย์ น้อยวังฆัง และทีมวิจัยสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย แพทย์หญิงป่านฤดี มโนมัยพิบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย นายแพทย์ธนัช พจน์พิศุทธิพงศ์ คุณเบญจญา วิบูลย์จันทร์ และคุณสกุลลัคน์ ปั้นเปล่ง ร่วมกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรุณศรี มงคลชาติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมศักดิ์ วงศาวาส รองศาสตราจารย์ ดร.ชีระวิทย์ รัตนพันธ์ และทีมผู้ช่วยนักวิจัยโครงการ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน

เวทีรายงานผลการศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการวิจัยโครงการย่อย 2 และโครงการย่อย 3 พร้อมด้วยการเปิดเวทีให้ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ร่วมแลกเปลี่ยน รับฟังความคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะต่างๆ ซึ่งข้อมูลที่ได้มีความสำคัญอย่างมากและจะเป็นประโยชน์ต่อการสังเคราะห์ทางเลือกและข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปบทบาทของ อสม./อสส. เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป