- ข่าวสารสถาบันฯ
- สำนักงานเลขาธิการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) จัดประชุมคณะกรรมการเครือข่ายมหาวิทยาลัยไทยเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (TUN-HPN) ครั้งที่ 15
วันที่ 4 กรกฎาคม 2568 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มอบหมายให้รองศาสตราจารย์ ดร.ธันวดี สุขสาโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน และเลขาธิการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการเครือข่ายมหาวิทยาลัยไทยเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ครั้งที่ 15 (15th Thai University Network for Health Promotion Network Committee Meeting) ซึ่งจัดขึ้น ผ่านระบบประชุมออนไลน์ (Zoom Meeting) โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรวัฒน์ พัสระ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และประธานคณะกรรมการเครือข่ายมหาวิทยาลัยไทยเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ปี 2567 - 2569 เป็นประธานการประชุม
ในการประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากคณะกรรมการเครือข่ายมหาวิทยาลัยไทยฯ เข้าร่วมการประชุม ดังนี้ นายแพทย์วิวัฒน์ โรจนพิทยากร ที่ปรึกษาคณะกรรมการเครือข่ายฯ ศาสตราจารย์ นายแพทย์นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล ที่ปรึกษาคณะกรรมการเครือข่ายฯ รองศาสตราจารย์ ดร.อุดมผล พืชน์ไพบูลย์ รองอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคลและกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศาสตราจารย์ ดร.วงศา เล้าหศิริวงศ์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และดร.เวธกา กลิ่นวิชิต ผู้รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ และรองคณบดีฝ่ายบริหารคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
นอกจากนี้ ได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์รัชด ชมภูนิช รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิตและพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.จีมา ศรลัมพ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิตและพัฒนาอย่างยั่งยืน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยวัชร พรหมจิตติพงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์เพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รองศาสตราจารย์ ดร. อรรถกร ทองทา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยนเรศวร นายพงษ์ศักดิ์ ธงรัตนะ ผู้อำนวยการสำนักสุขภาวะองค์กร เป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมการประชุมจากมหาวิทยาลัยเครือข่าย TUN-HPN ในทุกภูมิภาคเข้าร่วมการประชุม
การประชุมดังกล่าว ได้มีการหารือในที่ประชุมถึงประเด็นสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ 1) การสรุปภาพรวมกิจกรรมของเครือข่ายมหาวิทยาลัยไทยเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพที่ดำเนินการในปีที่ผ่านมา 2) รายงานความคืบหน้าการเข้าร่วมระบบประเมินมหาวิทยาลัยสุขภาวะ (Healthy University Rating System: HURS) ประจำปี 2568 3) การขยายเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพระดับนานาชาติ ในประเทศเวียดนาม และ 4) แผนการดำเนินงานของเครือข่ายมหาวิทยาลัยไทยเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (Thai University Network for Health Promotion Network) ภายใต้โครงการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพด้านการสร้างเสริมสุขภาพของมหาวิทยาลัยในเครือข่าย AUN-HPN
การประชุมคณะกรรมการเครือข่ายมหาวิทยาลัยไทยเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ได้รับความร่วมมือจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยในประเทศไทย ได้พัฒนาศักยภาพการเป็นผู้นำด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ให้มีความเข้มแข็ง สามารถนำกรอบแนวทางมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพไปปฏิบัติได้อย่างทั่วถึง เพื่อมุ่งสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยส่งเสริมสุขภาพ” ในระดับนานาชาติ